วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ธรรมชาติที่สดใสงดงาม

ความงามของธรรมชาติ คือ ศิลปะชั้นเยี่ยม  ที่ช่วยจรรโลงจิตใจของเรา  ความทรงจำนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานเท่านานด้วยภาพถ่ายที่เมื่อมองกลับมาก็จะทำให้นึกถึงสิ่งดีๆ ในธรรมชาติเสมอ

"สุขใดๆ เท่ากับความสุขสงบของจิตไม่มี"

💕💕💕

💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ดอกเศรษฐีหมื่นล้าน

ปลูกต้นเศรษฐ​ีหมื่นล้านมาได้ประมาณ 1 ปี พึ่งจะได้เห็นดอกครั้งแรก😍😍😍
ดอกดกดีจัง พึ่งรู้เหมือนกันว่าดอกของต้นเศรษฐ​ีหมื่นล้านเป็นแบบนี้นี่เอง
💕💕💕

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผามออีแดง Pha Mo E Dang

อากาศดีที่ผามออีแดง😍😍😍 

    ผามออีแดง  ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร  ต.เสาธงชัย  อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ  อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร  เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา











วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

มะระขี้นก​ (Bitter​ gourd)​

      วันนี้​  Joyrawee​ จะพามารู้จักกับผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในสวนของ​  Joyrawee​ เองนะคะ​  เชื่อว่าที่บ้านของเพื่อนๆ​ หลายคนก็น่าจะมีปลูกไว้เช่นเดียวกัน​  เราไปดูกันค่ะว่าเจ้าผักชนิดนี้คืออะไร

มะระขี้นก​ (Bitter​ gourd)

      มีชื่ออื่นๆ​  ว่า​ มะไห่​ มะนอย ผักไห่​ มะห่วย​ ผักไซ​ สุพะเด​ สุพะซู  มะระหนู​ มะร้อยรู  ผักเหย​  ผักไห  ระ​ ผักสะไล​ ผักไส่  ผักไซร้​ โกควยเกี๋ยะ​ โควกวย​  มะระเล็ก​ บัลซามิโน่​  เป็นต้น


      เป็นพืชจัดอยู่ในวงศ์แตง​  Cucurbitaceae  มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกาเขตร้อน
      เป็นพืชล้มลุกลำต้นเป็นเถาเลื้อยเช่นเดียวกับบวบ​ แตงกวา​ มีเถาสีเขียวขนาดเล็กมี​ 5​ เหลี่ยม​ มีขนทั่วไป​ มีมือเกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อใช้สำหรับยึดจับ
      ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน​ ก้านใบยาว​ ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ​ 5-7 หยัก​ ปลายใบแหลม​ เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกันแล้วแตกเป็นร่างแห​  มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย​ เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม
      ดอกเป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน​  เจริญมาจากข้อ  มีกลีบ​ 5​ กลีบ​ สีเขียวปนเหลือง​ กลีบในมี​ 5​ กลีบ​ สีเหลืองสด​ ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย​ เกสรตัวผู้มี  3​ อัน​  แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้​ 3​ อัน​ และมีอับเรณู​ 3​ อัน​ ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน​ มีรังไข่​ 1​ อัน​ ก้านชูเกสรตัวเมีย​ 3​ อัน
      ผลเป็นรูปร่างคล้ายกระสวย​ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา​  ผลอ่อนจะมีสีเขียวแต่ถ้าเป็นผลแก่จะออกสีเหลืองอมแดง​ ปลายของผลจะแตกเป็น​ 3​ แฉก
      เมล็ดมีรูปร่างกลมรี​  แบน​ ปลายแหลมสีฟางข้าว​ เมื่อแก่เต็มที่มีเมือกสีแดงสดห่อหุ้มเมล็ดอยู่


      ประโยชน์​  ผลและยอดอ่อนสามารถรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือลวกก่อนนำมาทาน​  เป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง​  สามารถนำไปประกอบอาหารอื่นๆ​ ได้​  เป็นสมุนไพรช่วยในการชะลอความแก่ชราได้​  ช่วยรักษาโรคหอบหืด​ ผลช่วยลดความดันโลหิต​ ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน​ ช่วยบำรุงสายตา​ ช่วยบำรุงระดู​ ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง​ ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส​ เชื้อแบคทีเรีย​ ยีสต์​ โปรโตซัว​  เชื้อมาลาเรีย​ ช่วยยับยั่งเชื้อเอดส์หรือ​ HIV  ใบช่วยดับพิษฝีร้อน​ ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย​  แก้อาการฟกช้ำบวม​ ช่วยบำรุงน้ำดี​  ช่วยขับลม​ รักษาโรคตับ​ โรคม้าม​ ช่วยขับระดู​ ช่วยขับพยาธิตัวกลม​ แก้อาการจุกเสียด​ แน่นท้อง​ ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง​  ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ​  ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย​  ช่วยในการนอนหลับ​  รากช่วยลดเสมหะ​  ช่วยแก้อาการปวดฟัน​  ช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด​  ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร​  ผลแห้งช่วยรักษาอาการของโรคหิด​  เป็นต้น
      ข้อควรระวัง​ สตรีมีครรภ์​  เด็กหรือผู้​ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ​ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะระขี้นกโดยเด็ดขาด​ เพราะจะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลงได้​  ผลสุกก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกันเพราะมีสารที่จะทำให้เกิดอาการระบบประสาทผิดปกติ​  เกิดอาการอาเจียน​  ท้องร่วง​  หรือช็อกหมดสติได้

เปราะป่า​ (Peacock​ ginger)​

      วันนี้เราจะมาแนะนำพรรณพืชอีชนิดหนึ่งให้เพื่อนได้รู้จักกันเพิ่มเติมนะคะ​  แถวอีสานบ้าน​  joyrawee​  เขาจะชอบเรียกกันว่า  "ผักตูบหมูบ" สำหรับคนภาคกลางจะเรียกว่า​ "เปราะป่า"  และพื้นที่อื่นๆ​ ก็จะเรียกแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่นของตัวเอง​  เราไปดูหน้ากันดีกว่าค่ะว่า​เจ้า​ "ผักตูบหมูบ"  ที่ชาวบ้านแถวอีสานชอบเรียกกันนี้มีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้างไปดูกันเลย!

เปราะป่า​ (Peacock​ ginger)

      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  ตูบหมูบ  ว่านตูบหมูบ​ เอื้องดิน​ เปราะ​ ว่านส้ม​ หัวหญิง​ ว่านหอม​ เปราะเถื่อน​ เปราะเขา​ ว่านดอกดิน​  ว่านอีมูบ​  ว่านนกยูง​ ว่านหาวนอน​ ว่านนอนหลับ​ ว่านแผ่นดินเย็น​ เป็นต้น


      เป็นพืชในวงศ์ขิง​ Zingiberaceae  การกระจายพันธุ์พบในประเทศพม่า​  อินเดีย​ ส่วนไทยพบตามพื้นที่โล่งในป่าเต็งรัง​ ป่าเบญจพรรณ​  ของทุกภาค​ 
      เป็นพืชลงหัวขนาดเล็ก​ มีเหง้าสั้น​และรากเป็นกระจุก​  หัวเปราะป่าหรือเหง้าสั้นและมีขนาดเล็ก​  ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม​ สีน้ำตาล​ ที่ผิวมีรอยข้อปล้องอย่างชัดเจน​  ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว​  เหง้ามีกลิ่นหอม​  รสร้อนเผ็ดและขมจัด


      ใบมีใบเป็นใบเดี๋ยว​ ใบอ่อนจะม้วนเป็นกระบอกตั้งขึ้น​ เมื่อแก่จะแผ่ราบบนหน้าดิน​  ใบไม่มีก้านใบ​ หนึ่งต้นจะมีใบเพียง​ 2​ ใบ​  ใบมีสีเขียวเข้มขอบใบมีสีม่วงแดง​  เป็นรูปทรงกลมหรือรูปรี  ปลายใบแหลม​ โคนใบเป็นรูปลิ่ม​  หลังใบเรียบด้านล่างมีขน​  มีลิ้นใบรูปสามเหลี่ยม


      ดอกช่อดอกแทงออกมาจากตรงกลางระหว่างกาบใบทั้ง​ 2​ มีกลีบดอกเป็นหลอด​  ปลายแยกเป็น
กลีบรูปแถบ​  กลีบหลังยาวและมีขนาดกว้างกว่ากลีบข้าง​  ดอกจะมีสีขาว​  กลีบดอกบอบบาง​  มีดอกย่อยประมาณ​ 6-8  ดอก​ มีใบประดับสีขาวอมเขียว​  เป็นรูปใบหอก​  เกสรตัวผู้เป็นหมันจะมีสีขาวเป็นรูปไข่กลับแกมรูปลิ่ม​  กลีบปากมีสีม่วง​ มีแถบสีขาวอยู่ระหว่างเส้นกลางกลีบกับขอบกลีบเป็นรูปไข่กลับแกมแกมรูปลิ่ม​ มีปลายหยักและลึกมาก​  เกสรตัวผู้นั้นเกือบไม่มีก้านหรืออาจมีก้านยาวเพียง​ 1​ มิลลิเมตร​  มีกลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นหลอดยาวและส่วนปลายแยกเป็น​ 2​ แฉก
      ผลเป็นรูปไข่มีสีขาว​แตกเป็น​ 3​ พู​  ภายในผลมีเมล็ดเป็นรูปไข่​  มีสีน้ำตาล
      ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการแยกเหง้าหรือหัว


      ประโยชน์​  ใบอ่อนสามารถรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้​  ทำเครื่องเคียง​  เครื่องเทศ​  ใช้น้ำมันหอมระเหยจากหัวผลิตเป็นน้ำหอม​  เป็นไม้ประดับ​  เป็นไม้มงคล​  เป็นสมุนไพร​  หัวใช้เป็นยาแก้ไข้​  แก้หวัด​  แก้อาการไอ​  แก้กำเดา​  แก้เสมหะ​  ขับลมในลำไส้​  แก้ลมพิษ​  ผดผื่นคัน​  ต้มดื่มเป็นยาแก้อัมพาต​  ใบแก้เกลื้อนช้าง​  บรรเทาอาการเจ็บคอ​  ดอกแก้อาการอักเสบ​  ตาแฉะ​  เป็นต้น

ผักติ้ว​ (Cratoxylum formosum)​

      วันนี้จะมาแนะนำผักป่าพื้นบ้านชนิดหนึ่งแถวบ้านเกิด​ Joyrawee​ ให้เพื่อนๆ​  ได้รู้จักกันนะคะ​  บางท่านอาจจะรู้จักกันแล้วและคุ้นเคยเป็นอย่างดี​  แต่บางท่านอาจจะยังไม่รู้จั​ก​  เราไปดูกันเลยค่ะว่าผักชนิดนี้คือผักอะไร?

ผักติ้ว​ (Cratoxylum​ formosum)



      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ผักแต้ว​  ติ้วส้ม​ ขี้ติ้ว​ แต้วหอม​ แต้วหิน​ ติ้วขาว​ ติ้วหนาม​ ตาว​  ติ้วแดง​  ผักเตา​  เตา​ กวยโชง​  ไม้ติ้ว​ กุยฉ่องเซ้า  เน็คเคร่แย  มัมปัต  ญั่ญหงั่ญแด็ป​ มะโตะ  ติ้วยาง​ ติ้วเลือด​  ติ้วเหลือง​ ราเง้ง​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Hypericaceae,  Guttiferae,  Cratoxylum​  มีถิ่นกำเนิดพบแพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  เช่น​ พม่า​  ลาว​ เวียดนาม​  จีนตอนใต้​  บรูไน​ กัมพูชา​  อินโดนีเซีย​ มาเลเซีย​  ฟิลลิปปินส์​  สิงคโปร์และไทย​ 
      เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง​  สูงประมาณ​ 8-15 เมตร​  หรือมากกว่า​  เปลือกต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดง​  แตกล่อนเป็นสะเก็ด​  เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแกมเหลือวมียางสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล​  เรือนยอดเป็นทรงกลม​  โคนต้นมีหนาม​  กิ่งก้านเรียว​  ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป​ 
      ใบเป็นพืชใบเลี้ยงคู่​  ออกเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน​  ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน​ ปลายใบมนหรือแหลม​  โคนใบสอบเรียบ​  ส่วนของใบโค้งเรียบ​  ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียด​ ใบอ่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงแดง​  เรียบและมันวาว​  ใบแก่จะเป็นสีเขียวสดเรียบเกลี้ยง​  หลังใบมนเป็นมัน​  ส่วนท้องใบมีต่อมกระจายอยู่ทั่วไป​  ใบแก่เป็นสีแดงหรือสีแสด​  มีเส้นข้างใบประมาณ​ 7-8 คู่​  โดยจะโค้งจรดกันใกล้ขอบใบ
      ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง
      

       ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลของใบ​  กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพูอ่อนถึงสีแดง​  กลีบดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ​ ออกตามซอกใบหลุดร่วงได้ง่าย​  ดอกมี​ 5​ กลีบ​  ก้านดอกเรียวเล็ก​  ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองสั้นๆ​ อยู่จำนวนมาก​  ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม​ 3​ กลุ่ม​  ส่วนเกสรตัวเมัยก้านเกสรเป็นสีเขียวอ่อน​  มี​ 3​ อัน​  และมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ​  ดอกมีกลับเลี้ยง​ 5​ กลีบ​ สีเขียวอ่อนปนสีแดง
      ผลเป็นแบบแห้งและแตกได้​  เป็นรูปไข่แกมรูปกระสวย​  ผิวผลมีนวลสีขาว​  ผลแก่จะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำเป็นผลแบบแคปซูล​  ปลายแหลม​  ผิวเรียบและแข็ง​  จะแตกออกเป็น​ 3​ แฉกเมื่อแก่​  ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล​  ส่วนที่ฐานดอกมีกลีบเลี้ยงยังคงอยู่
      ประโยชน์​  ยอดอ่อน​ ใบอ่อนและดอกอ่อน​  รับประทานเป็นผักสดได้หรือนำไปประกอบอาหารอื่นๆ​ ได้​  เป็นสมุนไพร​  ยอด​  ใบอ่อน​  ดอก​ เถา​ ช่วยบำรุงโลหิต​  ช่วยแก้ปะดง​  ขับลม​  แก้อาการปวดตามข้อ​  แก้ไขข้อพิการ​  ยางทารักษารอยแผลแตกของส้นเท้า​  แก้อาการคัน​ แก่นและลำต้นแช่น้ำดื่ม​  แก้ประดงเลือดหรืออาการเลืแดไหลไม่หยุด  รากและใบต้มน้ำกินแก้ปวดท้อง​  เป็นต้น


กลอย​ (Asiatic bitter yam)​

      วันนี้​ Joyrawee​ จะมาแนะนำพืชอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในสวนหลังบ้าน​  บางท่านอาจจะค้นเคยกันเป็นอย่างดี​  แต่บางท่านอาจจะยังไม่รู้จักหรืออาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้วแต่ไม่รู้ว่ามันชื่ออะไร​  เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าเจ้าพืชชนิดนี้คืออะไร​  ไปดูกันเลย!

กลอย​ (Asiatic​ bitter yam)
      

       มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  มันกลอย​  กลอยข้าวเหนียว​ กลอยไข่​  กลอยนก  กอย​  กลอยข้าจ้าว​  ว่านกลอยจืด​ กลอยหัวช้าง​  กลอยระกำ​  คลี้​  กลอยหัวเหนียว​  เป็นต้น​  
      เป็นพืชในวงศ์​ Dioscoreaceae  สกุล​ Dioscorea  พบมากในบริเวณเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน​ เช่น​ แอฟริกา​  อเมริกากลาง​  หมู่เกาะแปซิฟิก​  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​ อินเดีย​  จีนตอนใต้​  นิวกินีและไทยพบทั่วทุกภาค​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัวที่อยู่ใต้ดิน


      เป็นไม้เถาล้มลุก​เจริญเลื้อยพันธุ์ต้นไม้อื่น​  ไมมีมือเกาะ​  มีหัวใต้ดิน​  ลำต้นกลมมีหนามเล็กๆ​ กระจายทั่วไปและมีขนนุ่มๆ​ สีขาวปกคลุม​  มีรากเจริญเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน​  
      ใบเป็นใบประกอบเรียงตัวแบบเกลียว​  ผิวใบสากมือ​  มีขนปกคลุม​  มีใบย่อย​ 3​ ใบ​ ใบกลางแผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน​  ปลายเรียวแหลม​  โคนแหลม​  ขอบใบเรียบ​  เส้นใบนูน​  ใบย่อย​ 2​ ใบ​ แผ่นใบรูปไข่​  รูปไข่กลับ​  ขนาดสั้นกว่าใบกลางแต่กว้างกว่า​  ปลายแหลม​  โคนกลม​  เส้นใบออกจากจุดเดียวกัน
      หัวใต้ดินส่วนมากกลมรีบางทีเป็นพู​  มีรากเล็กๆ​ กระจายทั่วทั้งหัว​ มี​ 3-5 หัวต่อต้น​  เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง​ เนื้อในหัวมี​ 2​ ชนิด​ คือ​ สีขาว​ (กลอยหัวเหนียว)​ และสีครีม​ (กลอยไข่​ กลอยเหลือง)​
      ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนง​  แยกเพศอยู่คนละต้น​  ดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวน​ 30-50​ ดอก​ สีเขียว​ ออกตามซอกใบห้อยลง​  ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแยกแขนง​ 2-3 ชั้น​ ดอกตั้งขึ้น​  ยาวได้ถึงประมาณ​ 40 ซม.​  เกสรตัวผู้จำนวน​ 6​ อัน​ ดอกเพศเมีย​  ออกเป็นช่อชั้นเดียว​  ดอกชี้ลงดิน​ กลีบเลี้ยงและกลีบดอฏอย่างละ  6​ กลีบ​ เรียงเป็น​ 2​ วง
      ผลแก่แตกได้​  มีสีน้ำผึ้ง​ มีครีบ​ 3​ ครีบ​ คล้ายมะเฟือง​ แต่ละครีบมี​ 1​ เมล็ด​ ผิวเกลี้ยงเมล็ดกลมแบน​  มีปีกบางใสรอบเมล็ดช่วยในการปลิวลอยไปกับลมได้
      ประโยชน์​  หัวสามารถรับประทานได้แต่ต้องล้างให้สะอาดและทำให้สุกก่อน​  หัวกลอยให้แป้งมากแต่มีสารไดออสคอรีนมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้  ทำให้เมา​ คันคอ  เหงื่อออก​ อาเจียน​ ตาพร่า​ วิ​งเวียน​  ใจสั่น​ ต้องนำมาทำให้หมดพิษโดยปอกเปลือกทิ้ง​  แล้วหั่นเป็นแผ่นบางๆ​ ใส่ชะลอมหรือตะกร้าแล้วนำไปแช่ทิ้งไว้ให้น้ำไหลผ่านเช่น​ น้ำตก​ น้ำห้วย​ น้ำทะเล​  สัก​ 2-3​ วัน​ ล้างให้สะอาดแล้วนำไปนึ่ง​  หรือนำไปต้มในน้ำเกลือโดยต้องเปลี่ยนน้ำล้างหลายๆ​ หนเพื่อให้สารพิษออกใ้หมดแล้วจึงนำไปรับประทานได้​  ด้านสมุนไพร​ หัวใต้ดินหั่นเป็นแผ่นบางๆ​ ปิดบริเวณที่มีอาการบวมอักเสบ​  แก้เถาดาน​ (อาการแข็งเป็นลำในท้อง)​ หุงเป็นน้ำมันใส่แผล​ กัดฝ้า​ กัดหนอง​  หัวแห้งปรุงเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย​  ขับปัสสาวะ​ แก้ปวดตามข้อ​ ฝีมะม่วง​ โรคซิฟิลิส​  รากบดผสมกับน้ำมันมะพร้าวใบยาสูบใบลำโพงหรือพริกใช้ทาหรือพอกฆ่าหนอนในแผลสัตว์เลี้ยงได้​  เป็นต้น