วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ดอกไม้นานาชนิด​ (Various flowers)​

ดอกไม้นานาชนิด​ (Various​ flowers)
     ดอกไม้มีความงดงามหลากหลายแตกต่างกันมากมาย​  ทั้งขนาด​  ชนิด​  สีสัน​  กลิ่นและรูปทรงหรือแม้แต่ความหมาย​  แต่ก็นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์หลงรักชื่นชมในความงดงามเหล่านั้นมาอย่างยาวนาน​  หรือจะพูดได้ว่าความงดงามของดอกไม้นั้นเป็นความอัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ออกมาได้อย่างลงตัว​  วันนี้​  Joyrawee​  ได้รวบรวมดอกไม้ต่างๆ​  ที่หลากหลายเท่าที่หาถ่ายภาพมาด้วยตัวเองได้มาฝากกันนะคะ​  ส่วนจะมีดอกไม้ชนิดไหนที่น่าสนใจบ้างนั้นต้องมาดูพร้อมๆ​ กันเลย!

1.​ ดอกกุหลาบ​ (Rose)


     เป็นดอกไม้ที่มีความสวยงาม​  ที่ได้รับความนิยมในการปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งเลยทีเดียว​  ​มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย​  ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์และหลากหลายสีแตกต่างกันออกไป​  เป็นดอกไม้ในสกุล​ Rosa  ในวงศ์​  Rosaceae  คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม​  ประดับสถานที่​  ตกแต่งสวน​  ประดับตกแต่งบ้าน​  หรือปลูกเพื่อการพาณิชย์ก็มี  อาทิเช่น​  เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม​  เป็นต้น​  กุหลาบยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักอีกด้วย​  ซึ่งผู้คนจะมอบให้กันเนื่องในเทศกาลพิเศษโดยเฉพาะในวันวาเลนไทน์​ นอกจากความสวยงามและมีกลิ่นหอมแล้ว​  ยังถือได้ว่าเป็นดอกไม้มงคลอีกชนิดหนึ่ง​  ซึ่งตามความเชื่อหากปลูกกุหลาบไว้ในบ้านจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นสง่านั่นเอง

2.​ ดอกทิวลิป​ (Tulip)​



     เป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก​  มีอยู่หลายสีและหลายสายพันธุ์เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว​  เป็นดอกไม้ในสกุล​  Tulipa  ในวงศ์​  Liliacea  เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดมาจากตะวันออกกลาง​  ดอกทิวลิปเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของรักแท้​  ความใฝ่ฝัน​  จินตนาการ​  ความรักที่เปิดเผยและคู่รักที่สมบูรณ์แบบ​  ดอกทิวลิปมีประโยชน์หลายด้าน​  อย่างเช่น​  นำมาตกแต่งประดับบ้านเรือน​  เป็นสื่อกลางในการบอกรัก​  หวังดี​  เป็นกำลังใจ​  ใช้ในพิธีต่างๆ​  ปลูกเพื่อการค้าขาย​  เป็นต้น

3.​ ดอกพลับพลึงตีนเป็ด​ (Spider​ lily)​




     พลับพลึงเป็นไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอมีกลิ่นหอมอ่อนๆ​ ​ มีหลายสี  ออกดอกเป็นช่อ​เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กมีหัวอยู่ใต้ดิน​  ลักษณะเป็นกลีบๆ​  เรียงเป็นวงซ้อนกันแน่นเป็นลำต้นเทียม​  เจริญเติบโตเป็นช่อชูส่วนของใบขึ้นมาเหนือดินแตกกอ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน เป็นตระกูล​ Amaryllidaceae​ ในสกุล​  Hymenocallis​ ส่วนมากพบทุกภูมิภาคของประเทศไทย​  มีประโยชน์โดยใช้ใบนำมาย่างไฟพันแก้ฟกช้ำ​  บวม​  เคล็ดขัดยอก​  ใช้อยู่ไฟหลังคลอดสำหรับสตรีมีครรภ์​  หัวจะมีรสขมใช้เป็นยาระบาย​  ขับเสมหะ​ หรือปลูกเพื่อประดับ​ตกแต่งบ้านให้เกิดความสวยงาม​  ด้านของความเชื่อความเป็นศิริมงคลปลูกไว้เพื่อแก้เคล็ดช่วยขับไล่สิ่งที่ไม่เป็นมงคล  ช่วยให้ชนะสิ่งไม่ดีทั้งปวงได้  เป็นต้น

4.​ ดอกทองอุไร​​ (Yellow​ elder)​


     ดอกทองอุไร​ หรือดอกสร้อยทอง​  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก​  ดอกสีเหลืองสดมีรูปลักษณะคล้ายระฆังหรือแตร​  ลำต้นเล็ก​  แผ่กิ่งก้านด้านบนเป็นพุ่มกลมโปร่ง​ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา​  เม็กซิโก​  ทางตอนเหนือของอาร์เจนตินาและแถบหมู่เกาะอินดีสตะวันตก  เป็นพืชสกุล​  Tecoma  วงศ์​  Bignoniaceae  ปลูกง่าย​  เกิดง่ายในเขตร้อนทั่วไป​ เป็นทั้งต้นไม้มงคลและพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง​  มีกลิ่นหอมอ่อนๆ​ ดอกจะออกทั้งปี​  บางคนจะเรียกว่าดอกสร้อยทอง​  ต้นสามารถใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวานและโรคเกี่ยวกับปัญหาทางเดินอาหารได้ และยังมีความเชื่อกันว่า  ต้นทองอุไรจะเสริมวาสนาบารมีช่วยให้ผู้ปลูกได้มีเกียรติมีลาภยศสูงส่งอีกด้วย​ 

5.​ ดอกชบา​ (Hibiscus)​


     จัดเป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันทั่วไป​  บางคนจะเรียกว่า​  ดอกพู่ระหง​ หรือดอกบุกงารายอ  แล้วแต่ท้องถิ่น​  เป็นไม้ต้นขนาดย่อมหรือไม้พุ่มขนาดกลาง​  มีหลายสีและหลากหลายสายพันธุ์​  เป็นพืชดอกในสกุล​  Hibisceae​  วงศ์​  Malvaceae  ชอบอากาศที่อบอุ่นในกึ่งเขตร้อนและเขตร้อนทั่วโลก​   


     เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก​  มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน​  อินเดีย​  หมู่เกาะฮาวายและประเทศเขตร้อนชื้นต่างๆ​ ดอกชบามีรูปร่างสวยงาม​  สีสันสดใส​  มีใบเขียวเข้ม​  มนรี​  ปลายใบแหลม​  มีประโยชน์หลายอย่าง​  เป็นทั้งไม้ประดับเพื่อความสวยงาม​  เป็นทั้งยาสมุนไพรซึ่งสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต​  บำรุงผิวพรรณ​  บรรเทาโรคเกี่ยวกับไต​ บำรุงผม รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา​  รักษาแผลไฟไม้น้ำร้อนลวก​  เป็นต้น

6.​ ดอกคูณ​ หรือ​ ดอกราชพฤกษ์​ (Golden shower tree)​


     เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง​  ดอกขึ้นเป็นช่อยาวสีเหลืองอร่ามหรือสีอื่นๆ​  ตามแต่สายพันธุ์​  มีกลิ่นฉุน​  มีชื่อเรียกไปตามแต่ละท้องถิ่น​  บางท้องถิ่นเรียกว่าราชพฤกษ์​  ส่วนใหญ่จะเรียก​  คูณ​  บางท้องถิ่นจะเรียก​  ลมแล้ง​  ลักเกลือ​  ลักเคย​  กุเพยะ​  หรือ​  ชัยพฤกษ์​  เรียกแตกต่างกันออกไป​  มีหลายสีตามแต่สายพันธุ์​  เป็นไม้ดอกในตระกูล​  Fabaceae​  สกุล​  Cassia  


     เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้​  และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไทย​  เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพิธีสำคัญ​  เช่น​  พิธีปลูกบ้าน​  พิธีเสาไม้หลักเมือง​  เป็นต้น​  มีความเชื่อกันว่าปลูกเพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ​  ช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีและมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพร​ ใช้ฝักแก่ต้มดื่มเป็นยาระบายได้  ฝักอ่อนสามารถใช้ขับเสมหะ​  ดอกใช้แก้แผลเรื้อรัง​  เป็นยาถ่าย​  ยาระบายหล่อลื่นลำไส้​  รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร​  ใบสามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้​  เป็นต้น

7.​ ดอกมะลิ​ (Jasmine)​

   

     เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา​ มีประมาณกว่า​  200​  ชนิด​ มีทั้งที่เรียกมะลิ​  มะลิลา​  มะลิซ้อน​  มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป​  เอเชีย​  และแอฟริกา​  เป็นพืชสกุล​  Jasminum​  วงศ์​ Oleaceae 


ดอกและกลิ่นจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดหรือสายพันธุ์​  ซึ่งมีทั้งชนิดผลัดใบและไม่ผลัดใบ​  ที่ลำต้นตั้งตรงหรือกางออก​  มีสีขาวหรือสีเหลืองบางชนิดมีสีแดงเรื่อ​  ดอกแบบช่อกระจุก​  หนึ่งกระจุกมีอย่างน้อยสามดอก​  บางชนิดเป็นดอกเดี่ยวที่ปลายแขนง​  ดอกมีกลิ่นหอมเย็นมีผลแบบเบอร์รี่เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสุก​  ดอกมะลิเป็นดอกไม้สื่อรักแทนใจ​  ความปรารถนา​ดี​  เยื่อใย​  แทนความกตัญญู​ เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง​  เชื่อกันว่าเป็นไม้ประจำองค์พระนารายณ์ที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชา​  ประโยชน์ของดอกมะลิมีมากมาย​  อาทิเช่น​  ดอกแห้งนำมาต้มหรือชงน้ำร้อนดื่มเป็นยาหอม​  ใช้น้ำแช่ดอกมะลิสดดื่มบำรุงหัวใจให้สดชื่น​  ใช้ถอนพิษไข้​  ดับพิษร้อน​  แก้ร้อนในกระหายน้ำ​  แก้บิด​  ปวดท้อง​  บำรุงครรภ์​  ผิวหนังผื่นคัน​ เป็นต้น

8.​ ดอกดาวเรือง​ (Marigolds)​  


     ดาวเรืองมีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า​  คำปู้จู้​  เป็นดอกไม้ที่คนไทยนิยมปลูกมาก​ เพราะปลูกง่าย​ งอกเร็วโตเร็วและแข็งแรง​  ไม่ค่อยมีโรคหรือแมลงรบกวน​  ให้ดอกเร็ว​  ดอกดก  มีหลายชนิดและหลายสี​  มีกลิ่นหอมฉุน​  รูปทรงของดอกสวยงามสีสันสดใส​  บานทนนานหลายวัน​  เป็นพืชในสกุล​  Tagetes  วงศ์​  Asteraceae​  ปลูกได้ตลอดปี​  การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการปักชำ


     มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและแถบทวีปอเมริกาใต้​  ประโยชน์ของดอกดาวเรือง​  คือ​ ปลูกเพื่อประดับเพิ่มสีสันและความสดชื่นให้บ้านเรือน​  หรือเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้​  ใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆ​ เพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์์สิทธิ​์ตามความเชื่อ​  คนโบราณเชื่อว่าการปลูกดาวเรืองไว้ในบ้านจะช่วยนำเงินทองเข้ามาให้และช่วยหนุนนำชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง​  ในดาวเรืองมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจัดเป็นสารบำรุงสายตา​  โดยนำดอกแห้งของดาวเรืองชงเป็นชาดื่ม​  เป็นต้น

  9. ดอกแพรเซี่ยงไฮ้​ (Portulaca)​


     เป็นพืชล้มลุกคลุมดิน​ประเภทเลื้อย  อวบน้ำ​  มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ​  เช่น​ ผักตาโค้ง​  ผักเบี้ยดอกเหลือง​  ผักเบี้ยใหญ่​  ผักฮีหลู  ผักเบี้ย​ ผักเบี้ยฝรั่ง​  แดงสวรรค์​  เป็นต้น​ ต่างจากดอกคุณนายตื่นสาย​ คือ​ จะมีใบเล็กกลมใบแหลม​ ดอกจะซ้อนเวลลาบานจะมองไม่ค่อยเห็นเกสร ส่วนดอกคุนายตื่นสายจะมีใบแบน​  ใบใหญ่กว่าแพรเซี่ยงไฮ้และมีกลีบดอกส่วนใหญ่ชั้นเดียว​ เวลาบานจะเห็นเกสรชัดเจน​  แพรเซี่ยงไฮ้ให้ดอกสีสันสดใส​  สวยงามและออกดอกมีหลายสี  อาทิเช่น​สีแดง​ สีบานเย็น​ สีชมพู​  สีเหลือง​ สีส้ม​ สีขาว​ และกลายสีผสมกัน​  เป็นต้น​  เป็นดอกซ้อนบางพันธุ์มีเกสรตัวผู้และตัวเมีย​  บางพันธุ์ไม่มีเกสร​  เป็นพืชในวงศ์​ผักเบี้ย​  Portulacaceae​  สกุล​ Portulaca  มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้​  ประเทศบราซิล​  อาร์เจนตินา​  อุรุกวัย​  มีความหมายถึงความงดงามแบบดั้งเดิม​   การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือการเด็ดกิ่งปักชำ​  ประโยชน์​ คือ​ เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ ปลูกเป็นพืชคลุมดิน​ ปลูกเพื่อการค้า​ นำมาสกัดเป็นสารสำหรับระบายสีภาพ​  ปั่นทำน้ำสมุนไพร​  หรือนำมาตากแห้งและบดชงเป็นชาดื่ม​  เป็นต้น

10.​ ดอกพู่อมร​ (Bush​ willow)​


    ดอกพู่อมร​ หรือ​ ดอกแสงตะวัน​  หรือ​ ดอกเงาะงาม​ เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็กพุ่มโปร่งใบสีเขียว​  ความสูงประมาณ​  2-3 เมตร​  มีช่อดอกคล้ายช่อเชิงลดหลอดกลีบเลี้ยงคอดปลาย​  แบบกระจุกแน่นตามซอกใบและปลายกิ่งเป็นทรงกลมทำให้ดูคล้ายผลเงาะ​  สามารถปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยได้  นิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ​  เป็นพืชในวงศ์​  Combretaceae​ มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  ผลของพู่อมรเป็นผลแห้งๆ​  ขนาดเล็กสีเขียวเปลือกแข็ง​  มีสีสันตามความยาวภายในมีเมล็ดเดียว​  ปลูกง่าย​  ช่อดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ​  3-5​ เซนติเมตร​  ออกดอกเกือบตลอดปี

11.​ ดอกแพงพวย​  (Madagascar​ periwinkle)​


         มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ผักปอดบก​ แพงพวยบก  นมอิน​ พังพวย​ พังพวยบก​ พังพวยฝรั่ง​ ฉางชุนฮวา​ แพงพวยฝรั่ง​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Apocynaceae


      เป็นไม้ไม่ผลัดใบเนื้ออ่อนพุ่มเตี้ย​  สูงประมาณ​ 3​ ฟุต​ ใบเป็นรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน​ ใบหนามนสีเขียวเป็นมันไม้มีขนเส้นกลางใบชัดเจนและก้านใบมัน​ ดอกมีหลายสี  เช่นสีชมพู​ สีม่วง​ สีขาว​ สีแดง​ เป็นต้น​ ออกตามซอกใบ​  กลีบดอกชั้นเดียว​ ดอกมี​ 5​ กลีบ​  ออกเป็นกลุ่ม​ กลุ่มละ​ 3-6 ดอก​ ใบออกเป็นคู่เรียงสลับตามข้อต้น​  ผลเป็นผลแตกแนวเดียว


      มีถิ่นกำเนิดมนอเมริกากลาง​  มาดากัสการ์​  เขตกระจายพันธุ์​ ประเทศในเขตร้อน​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับบริเวณทางเดิน​  ข้างถนน​  สนามหญ้า​  หรือปลูกเป็นไม้กระถางแบบแขวน​ เป็นสมุนไพร​  ใบใช้แก้โรคเบาหวาน​  บำรุงหัวใจ​ แก้ท้องผูกเรื้อรัง​ ทั้งต้นแก้บิด​  ขับพยาธิ​  ใช้ห้ามเลือด​  รักษามะเร็งในเม็ดเลือด​  เป็นต้น

12. ดอกหงอนไก่เทศ​  (Cockscomb)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  หงอนไก่ฝรั่ง​  ดอกสร้อย​ สร้อยไก่​  แชเสี่ยง​ ซองพุ​ กระลารอน​ ชองพุ​ โกยกวงฮวย  จีน
กวนฮวา​  ด้ายสร้อย​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Amaranthaceae  สกุล​ Celosia


     เป็นไม้ล้มลุก​ขนาดเล็ก  ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนักมีผิวขรุขระ​   เป็นไม้ที่กลายพันธุ์ง่าย ใบเรียวสลับใบเดี่ยวรูปหอกหรือรูปแถบแคบ​  โคนใบแหลมปลายใบแหลม​  ขอบใบเรียบผิวใบเป็นคลื่นและมีใบปกคลุม​  เส้นใบนูน​  ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด​  ช่อมี​ 2​ แบบ​ คือ​  รูปทรงกระบอกและแบบรูปหงอนไก่​  บางครั้งพบทั้ง​ 2​ แบบในต้นเดียวกัน​  รูปขอบขนานแกมรูปไข่​  ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นแผ่นย่นเป็นก้อนกลม​  ใบประดับรองดอกขนาดเล็กเป็นเส้นคล้ายกำมะหยี่​  ดอกสมบูรณ์เพศ​  กลีบดอกมีหลายสี  เช่น​  สีแดงสด​  สีเหลือง​  และสีขาว​  เป็นต้น​  ผลเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม​  สีดำเป็นมัน​  ขนาดเล็ก​ ผลแห้งแตกแบบมีฝาเปิดสีน้ำตาลอ่อน​  เมล็ดสีดำ​  เป็นมัน


     ​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกาเขตร้อน​ พบขึ้นตามที่โล่งแจ้งทั่วไป​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  รากเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย​  แก้ไข้​  เมล็ดแก้ร้อนในตับ​  ดอก​ ก้าน​และใบทำให้เลือดเย็น​  ดอกต้มแก้ปวดศรีษะ​  เป็นต้น

13.​ ดอกชวนชม​ (Desert​ rose)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  ลั่นทมแดง​ ลั่นทมยะวา​  เป็นต้น​ เป็นไม้ในวงศ์​ Apocyhaceae สกุล​ Adenium  มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า​  


      เป็นไม้เนื้ออ่อนอวบน้ำ​  ต้นและกิ่งเป็นลำกลม​ ผิวค่อนข้างเรียบสีเขียวอมเทา​  เปลือกบางแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ​  ส่วนโคนของลำต้นพองออกมีขนาดรูปทรงใหญ่เล็กแตกต่างกันไป​  เรียกว่า​  "โขด"  มีไว้เก็บน้ำเพื่อรักษาสมดุลของต้น​ ใบเป็นใบเดี๋ยว​ ออกเวียนรอบกิ่งคล้ายกังหันหลายๆ​ ชั้น​ และออกหนาแน่นตามปลายกิ่ง​  ลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์​  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง​  มีหลากหลายสีตามสายพันธุ์​  กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นกลีบเล็กๆ​ 5​ กลีบ​ รูปรีปลายแหลมติดอยู่รอบโคนดอกเหนือฐานรองดอก​ กลีบดอกมี​ 5​ กลีบ​ เรียงติดอยู่รอบโคนกลีบดอกหรือหลอดดอกคล้ายปากแตร​ แต่ละกลีบมีรูปทรงหลายแบบ​ คือ​ รูปกลม​ รูปไข่​ รูปแถบและรูปรี  ฝักและผลมีลักษณะคล้ายบูมเมอแรงหรือเขาคู่​  เป็นฝัก​ 2​ ฝักอยู่ติดกัน​ เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อนเล็กๆ​ คล้ายเมล็ดข้าวเปลือกมีขนสีน้ำตาลอ่อนเป็นพู่ติดอยู่ที่ปลายแหลมทั้ง​ 2​ ข้าง​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​ ปักชำกิ่ง​ การเสียบยอดและการตอนกิ่ง​  ประโยชน์​ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ เพื่อการค้า​ เป็นไม้มงคลซึ่งเชื่อกันว่าใครปลูกไว้ในบ้านจะทำให้เกิดความนิยมชมชอบ​ ความมีเสน่ห์​  เป็นต้น

14. ดอกผีเสื้อ​ (Dianthus)​


     เป็นไม้พุ่มทรงเตี้ยที่มีหน้าตาคล้ายปีกของผีเสื้อและมีสีสันที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป​   ดอกผีเสื้อ มีชื่ออื่นๆ​ เช่น​ Pink​,  Indian​ pink,  China pink, Rainbow pink​  เป็นต้น​  เป็นไม้ในวงศ์​  Caryophyllaceae  สกุลเดียวกับคาร์เนชั่น​  ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด​  มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน​  มีสีหลายสี  เช่น​  สีชมพู​ สีขาว​  สีม่วง​ สีแดง​  และหลายสีในดอกเดียวกัน​  มีใบรูปแถบเรียวราว​  ปลายใบแหลม​  สีเขียวอมเทา​  ก้านใบสั้น​  พันธุ์ดอกชั้นเดียวออกดอกดกกว่าพันธุ์ดอกซ้อน​  ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะหยักๆ​  คล้ายฟันปลาหรือฟันเลื่อย​  กลีบหุ้มดอกมีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้​  ชอบแสงแดดเต็มวัน​  ควรรดน้ำในช่วงเช้าไม่ควรรดน้ำจนแฉะเกินไปเพราะจะทำให้รากเน่าได้​  ควรหมั่นเด็ดดอกที่โรยออกจะช่วยยืดอายุการออกดอกไปได้นานขึ้น​  มีถิ่นกำเนิดมนยุโรปตอนใต้​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำลงในดินร่วน​  เหมาะกับการปลูกในสภาพอากาศที่หนาว​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับในกระถางหรือปลูกลงแปลงเพื่อจัดสวน

15.​ ดอกบานชื่น​  (Zinnia)​       


     เป็นไม้ล้มลุก​ในวงศ์​ Asteraceae​ สกุล​ Zinnia L.  มักมีขนสาก​ ระคายทั่วไป​  ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดริ้วประดับมีหลายวง​  ดอกมีหลายสี  เช่น​ สีแดง​  สีส้ม​ สีชมพู​ สีม่วง​ หรืออื่นๆ​ ดูแลรักษาง่าย​  ชอบอยู่กลางแจ้ง​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือปักชำ


     มึถิ่นกำเนิดในแถบประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้​  ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงใหญ่หรือใส่กระถางเพื่อความสวยงามหรือเพื่อการค้า​  ปลูกเป็นไม้มงคลเชื่อกันว่าจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้แก่ครอบครัว​  ดอกบานชื่นตากแห้งและบดเป็นผงชงเป็นชาดื่ม​  เป็นต้น

16.​ ดอกดาวกระจาย​ (Cosmos)​


     มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ​  ว่า​  ดาวเรืองพม่า​  คำเมืองไหว​  คำแพ​  คำอังวะ​  หญ้าแหลมนกไส้​  คำแล​  ปืนนกไส้​ ปังกุกโคหน่าย​  กุ่ยเจินเฉ่า​  พอกอลา​  สะลากุ้ง​  หญ้าตีตุ้ด​  เป็นต้น  จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน​  Asteraceae  ตระกูล​ Conpositae


     เป็นไม้ดอกล้มลุก​  ลำต้นและกิ่งเล็กชะลูด​  ทรงพุ่มต้นสูงประมาณ​ 3-7​ ฟุต​  ใบเป็นใบเดี๋ยว​  เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ​  แผ่นใบขอบใบเรียบมีสีเขียวเข้ม​  มีขนาดเล็กเรียวยาว​  เนื้อใบอ่อนนุ่มมีขนละเอียดปกคลุม​  แผ่นใบเว้าแหว่ง​คล้ายนิ้วมือ​ 5-7 แฉก​ แต่ละแฉกมีรูปหอก​ ​ ออกดอกเป็นช่อร่วมกันตามปลายยอด​  เป็นดอกสทบูรณ์เพศ​  มีสีหลายสี  เช่น​  สีชมพูแดง​  สีเหลือง​  สีขาว​  สีม่วง​ เป็นต้น​  เป็นไม้กลางแจ้งเจริญเติบโตเร็ว​  การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด


     มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ​  ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาไปจนถึงเม็กซิโก​  เป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความสงบ​  ประโยชน์​  คือ​ ปลูกเป็นแปลงประดับ​ ใช้สกัดสีสำหรับผสมอาหารหรือใช้ในการย้อมผ้า​  ดอกบดหรือขยี้ก่อนใช้ทารักษาพิษแมลงกัดต่อย​  ดอกต้มดื่ม​แก้อาการท้องเสีย​ เป็นต้น

17. ดอกพุดศุภโชค​ (Gardenia​ jasminoides)​


     พุดศุภโชค​  หรือ​ พุดศรีลังกา​  หรือ​ พุดแคระ​  เป็นไม้ทรงพุ่มเตี้ยขนาดเล็ก​ให้ดอกดกตลอดไม่เคยขาด​  เป็นพืชในวงศ์​  Rubiaceae​ ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด​  ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด​  ปลายแยกเป็นกลีบดอก​ 5​ กลีบ​  ปลายกลีบแหลมเหมือนดาว​  มีกลีบดอกชั้นเดียวไส้กลางดอกเป็นสีเหลือง​ ดอกมีสีขาวสดใส​  ดอกจะไม่หอมแต่มีจุดเด่นคือ​  จะมีดอกดกไม่ขาดต้น​จึงดูสวยงามสดใสเสมอ​  มีถิ่นกำเนิดจากประเทศศรีลังกา​ ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับ​  เป็นไม้มงคล​  เชื่อกันว่า  จะทำให้มีความเจริญ​  ความมั่นคง​  แข็งแรงสมบูรณ์​  นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน

18. ดอกหน้าวัว​ (Flamingo​ flower)​


      เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ไม่มีเนื้อไม้​  เป็นพืชเขตร้อนและมีอายุหลายปี  อวบน้ำ​  ลำต้นตรงหรือเลื้อย​ มีการแตกหน่อเลื้อย​  ความยาวของปล้องจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดหรือพันธุ์​  ลำต้นอาจเจริญเป็นยอดเดี่ยวหรือแตกเป็นกอก็ได้​  ใบมีรูปร่างต่างๆ​ กัน​  เช่น​  รูปหัวใจ​  รูปพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปี​  และรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด​  ปลายใบแหลมในพวกที่มีใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแห​  ส่วนใบแคบจะเรียงตัวคล้ายเส้นขนาน​  เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน​  ดอกมีลักษณะเป็นช่อโดยดอกรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดจะเรียงอัดกันแน่นอยู่บนส่วนที่เรียกว่าปลี​ ช่อดอกหรือปลีจานรองดอกอาจมีสีขาว​  ส้ม​ แดง​ ม่วง​  ชมพูอมส้ม​ เขียวและชมพู​  หรือบางทีอาจพบจานรองดอกที่มีสีเขียวและสีอื่นปนกันก็ได้​  ช่อดอกที่เรียกปลี​คือส่วนที่เป็นดอกจริง​ ประกอบด้วยก้านช่อมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี​ ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ​  มีทั้งเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน​ เป็นพืชในวงศ์​  Araceae​  สกุล​ Anthurium  มีการกระจายพันธุ์หลักอยู่บริเวณทวีปอเมริกา​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ​ ปักชำ​ ตัดหน่อ​ ตัดยอด​  ประโยชน์​ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง

19. ดอกเข้าพรรษา​ (Dancing  ladies)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ กล้วยจะก่าหลวง​ กล้วยเครือคำ​ ก้ามปู​ กระทือลิง​ ขมิ้นผี​ ปุดนกยูง​ หงส์เหิน​ ข่าเจ้าคุณวินิจ​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Zingiberaceae  สกุล​ Globba  มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย​ และกระจายพันธุ์ได้ดีบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  เป็นพืชมีดอกประเภทหัว​  มีเหง้าใต้ดินลักษณะคล้ายกระชาย​  ลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบรวมตัวกัน​ ใบเดี๋ยว​ แผ่นใบรูปรี  รูปขอบขนาน​ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม​ ฐานใบสอบเรียวหรือรูปหัวใจ​ ดอกออกเป็นช่อจะโค้งห้อยตัวอย่างอ่อนช้อยเหมือนหงส์กำลังบิน​  มีช่อดอกออกที่ปลายยอดของลำต้นเหนือดิน​  ช่อดอกแบบกระจุกแน่น​ ช่อเชิงลด​ ช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง​ ใบประดับมีสีสันสวยงาม​ เช่น​ สีแดง​ สีชมพู​ สีม่วง​ สีขาว​ สีเขียว​ และสีเหลือง​  ดอกขนาดเล็กหลุดร่วงง่าย​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ​  ประโยชน์​ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ เป็นไม้มงคล​ เป็นสมุนไพร​ เหง้าใช้รักษาอาการไอ​ ใช้ทาแผลเพื่อบรรเทาอาการปวดและเพื่อลดไข้​  เป็นต้น

20.​ ดอกนมสวรรค์​ (Pagoda flower)​


     ดอกนมสวรรค์​  มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  ดอกพนมสวรรค์​  สาวสวรรค์​ เข็มฉัตร​  น้ำนมสวรรค์​  หัวลิง​  พวงพีเหลือง​  ปิ้งแดง​  ฉัตรฟ้า​  พวงหวัน ปรางมาลี​  โพโก่เหมาะ​  พู่หมาก​  เป็นต้น​  เป็นไม้ล้มลุก​มีพุ่มขนาดกลาง​ สูงประมาณ​ 1-2​ เมตร​  ขอบใบหยักเว้าลึก​ 3-7  แฉก​ ใบเดี่ยวเรียงสลับ​  ผิวใบเรียบมันใบโตกลมคล้ายนางแย้ม​  ดอกช่อเป็นช่อสีแดง​  สีเหลือง​  สีส้ม​  สีขาว​ เป็นชั้นคล้ายฉัตร​ แทงออกจากเหง้า​  สีเขียวรูปกระบอก​  ประกอบด้วยดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น​   มีผลสดรูปทรงกลมสีน้ำเงินแกมเขียวหรือดำ​   การกระจายพันธุ์​  จีน​  มาเลเซียและฟิปปินส์​  ในไทยพบตามป่า​  ออกดอกตลอดปี​  พบขึ้นในที่มีน้ำท่วมขังหรือบริเวณริมน้ำ​  ลำต้นอยู่ใต้ดิน​ เป็นเหง้าเลื้อยในแนวขนานกับพื้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Verbenaceae​  สกุล​  Cerodendrum  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือแยกไหล​  ประโยชน์ของบัวหลวงเป็นไม้ดอกไม้ประดับและใช้เป็นสมุนไพรได้​  เช่น​  เหง้าใช้แก้ปวดท้อง​  ขับลม​ ขับเสมหะ​  เป็นต้น

21. ดอกบัวหลวง​ (Sacred​ lotus)​


      บัวหลวง​ มีชื่อกันทั่วไปว่า​  ปทุมชาติ​ บัวหลวงอินเดีย​  มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้าและไหล​  ใบเมื่อยังอ่อนจะลอยปิ่มน้ำส่วนใบแก่จะโผล่พ้นน้ำ​  ก้านใบและก้านดอกจะมีหนาม​  ดอกเป็นดอกเดียวขนาดใหญ่ชูสูงพ้นผิวน้ำ​  มีทั้งดอกทรงแหลมและป้อม​  กลีบดอกมีทั้งชนิดซ้อนและไม่ซ้อน​  สีชมพู​ สีขาว​  หรือสีเหลือง​  แล้วแต่ชนิดพันธุ์​ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์​  มีกลิ่นหอม​  เหง้าหรือที่มักเรียกกันว่ารากบัวและไหลบัว​  รวมทั้งเมล็ดสามารถนำมาเป็นอาหารได้​ เป็นพืชในสกุล​ Nelumbo  วงศ์​ Nelumbonaceae​  มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย​  บัวในสกุลนี้เป็นบัวดอกใหญ่นิยมนำมาไหว้พระและใช้ในพิธีทางศาสนา​  รวมถึงนำมาเป็นสมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายได้ด้วย

22. ดอกปักษาสวรรค์​ (Bird​ of​ paradise)​


     เป็นไม้เขตร้อน​  มีลำต้นทั้งที่เป็นลำต้นเดี่ยวและเป็นกอ​  มี​ 2​ ลักษณะ​  คือ​ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าและชนิดที่มีลำต้นเหนือดินเห็นชัดเจน​  มีใบเป็นใบเดี๋ยว​ รูปหอกแกมขอบขนาน​  คล้ายใบกล้วย​  ปลายใบแหลม​  บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมนโคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้น​  ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก​  มีกลีบดอกสีสดใส​  อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อประมาณ​ 3-7 ดอก​  ออกจากโคนกาบใบก้านช่อดอกกลม​  มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ภายใน​  เป็นพืชในวงศ์​  Strekitziaceae​  สกุล​ Strelitzia​ Ait.  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือแยกหน่อ​  ปลูกง่าย​  ออกดอกตลอดปี​  ทนได้ทั้งสภาพร่มเงาและกลางแจ้ง​  มีสีแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์​  เช่น​  สีน้ำเงินขอบแดง​  สีเขียวอมแดง​  สีแดงสด​  สีส้ม​  สีเหลือง​  และสีเหลืองอ่อน​  เป็นต้น​  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้​  ประโยชน์​  คือ​  เป็นไมเดอกไม้ประดับ​  ไม้ตัดดอก​  ปลูกเป็นสวนหย่อม​  ปลูกเพื่อการค้า​  เป็นต้น

23. ดอกบัวเผื่อน​ (Water​ lily)​


     เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายดอกบัวสาย​  อายุหลายปี  มีเหล้าและไหลอยู่ใต้ดินส่งใบส่งดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ​  บัวเผื่อนมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ​ เช่น​  นิลุบน​ บัวผัน​  บัวขาบ​  นิโลบล​  บัวแบ้​  ปาลีโป๊ะ​ และป้านสังก่อน​  เป็นต้น​  เป็นพืชในสกุล​ Nymphaea​ วงศ์​  Nymphaeaceae  ดอกเป็นดอกเดี๋ยว​  อยู่เหนือน้ำ​  กลิ่นหอมอ่อนๆ​  ดอกมีสีแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์​  เช่น​  สีม่วง​  สีชมพู​ สีขาว​  สีฟ้า​  เป็นต้น


     ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด​  เหง้าหรือไหลซึ่งแตกจากเหง้า​  บัวเผื่อนพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคตามห้วยหนองคลองบึงของประเทศไทย​  ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับ​  ปลูกเพื่อการค้า​  ดอกช่วยบำรุงหัวใจให้แช่มชื่น​  บำรุงกำลัง​  บำรุงครรภ์​  หัวบำรุงธาตุ​ เป็นต้น

24.​ ดอกลีลาวดี​ (Frangipani)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ จำปาลาว​ จำปาขอม​ จำปา​ ลั่นทม​ จ่งป่า​ จำปาขาว​ ไม้จีน​ มอยอ  จำไป​ เป็นต้น​  เป็นไม้ในวงศ์​ตีนเป็ดหรือไม้ลั่นทม​ Apocynaceae สกุล​ Plumeria


     เป็นไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม​ แคกกิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม​ มีน้ำยางสีขาวข้น​ เป็นไม้ผลัดที่สลับใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดดอกและผลิใยรุ่นใหม่​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัสแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง​  มีลักษณะแตกต่างกันไปทั่งรูปร่าง​ ขนาดสี​ และความหนาแน่น​  ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบเห็นเป็นช่อดอกใหญ่​  มีหลากหลายสีให้เลือก​ อาทิ​เช่น​ สีขาว​ สีแดง​ สีชมพู​ สีเหลืองอ่อน​  เป็นต้น


      มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง​ เม็กซิโก​ แคริเบียน​ และอเมริกาใต้​  ขยายพันธุ์ด้วนการเพาะเมล็ด​  การปักชำและการติดตา​   ประโยชน์​ ปลูกเป็นไม้ดแกไม้ประดับ​ เพื่อการค้า​ เป็นสมุนไพร​  ดอกนำมาตากให้แห้งแล้วใช้ชงเป็นชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย​   รากช่วยรักษาไข้หวัด​ ขับเหงื่อ​ แก้ร้อนใน​  เนื้อไม้ปรุงเป็นยาแก้ไอ​  เป็นยาถ่าย​ ​ ช่วยขับพยาธิ​   ดอกทำธูป​ ใบสดชงกับน้ำร้อนรักษาหิด​  เป็นต้น

25.​ ดอกแค​นา​ (Mangrove trumpet tree)​


     แคนา  มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  แคขาว​  แคเก็ตวา  แคเก็ตถวา  แคภูฮ่อ​  แคเค็ตถวา​  แคป่า​  แคทราย​  แคยาว​  แคอาว​  แคยอดดำ​ แคตุ้ย​  แคแน​  แคฝา​  แคทุ่งแคฝอย​ ​ แคหยุยฮ่อ​  แคแหนแห้​  เป็นต้น​    เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ​  ขนาดกลางถึงใหญ่ทรงพุ่ม​  มีความสูงประมาณ​ 10-25​ เมตร​  เป็นพืชในวงศ์​ Bignoniaceae  เปลือกลำต้นมีสีขาวอมเทาและมีสะเก็ดเปลือกสีดำประปราย​  สะเก็ดนี้จะร่วงออกเรื่อยๆ​  ลำต้นมีกิ่งจำนวนมากและแต่ละกิ่งจะแตกกิ่งย่อยออกมาจำนวนมากเช่นกัน​  ออกดอกเป็นดอกเดี๋ยว​  ตัวบริเวณปลาบกิ่ง​ ​1-8  ดอก​  ทำให้มองดูคล้ายออกเป็นช่อแบบกระจุกขนาดใหญ่​  มีลักษณะเป็นรูปกรวยหรือรูปแตรสีขาว​  โดยจะออกตามปลายกิ่ง​  มีกลิ่นหอม​  บานในตอนกลางคืน


     มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย​  พบมากในประเทศไทย​ตามป่าตามไร่นาและปั้มน้ำมัน​  เป็นต้น​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง​  ประโยชน์จัดเป็นผักป่าและไม้สมุนไพร​  รากช่วยบำรุงโลหิต​  ดอกช่วยในการนอนหลับ​  ลดอาการท้องเสีย​  ใบนำมาต้มกับน้ำเป็นยาบ้วนปาก​  รวมถึงเป็นไม้ประดับให้ร่มเงาเสริมจุดเด่นในสวน​  และไม้มงคล​เนื่องจากเชื่อกันว่าสีขาวบริสุทธิ์ของดอกจะนำพาสิ่งที่เป็นมงคลและสิ่งดีงามมาให้แก่สถานที่หรือคนในครอบครัว​  ช่วยปกป้องภัยอันตรายทั้งหลาย​  และช่วยให้ทำมาค้าขายร่ำรวย​  เป็นต้น

26.​ ดอกบัวตอง​ (Mexican sunflower)​



     เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กมีไหลอยู่ใต้ดิน​ เป็นไม้ดอกที่มีอายุยืนยาวหลายปี  เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก​ ออกดอกเป็นช่อเดียวบริเวณปลายกิ่ง​  มีสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวันแต่มีขนาดเล็กกว่า​  เป็นพืชในวงศ์​  Asteraceae สกุล​ Tithonia เป็นดอกสมบูรณ์เพศ​  ดอกวงนอกเป็นหมันกลีบเรียวมีประมาณ​ 9-14  กลีบ​  ดอกวงในมีสีเหลืองส้ม​  ใบของดอกบัวตองเป็นใบเดี่ยวรูปไข่​  มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย​ ปลายเว้าลึก​  3-5  แฉก​  ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น​  มีประโยชน์หลากหลาย​ เช่น​ ปลูกเป็นไม้ประดับสถานที่ต่างๆ​ หรือแหล่งท่องเที่ยว​ ดอกสามารถนำมาใส่แผล​  เป็นต้น

27. ดอกโป๊ยเซียน​ (Crown of​ thorns plant)​


     เป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่ง​  เนื่องจากดอกที่มีสีสันสวยงามมีหลายหลายสีและหลากหลายสายพันธุ์​  มีถิ่นกำเนิดในป่าแถบแอฟริกาเหนือ​  เป็นพืชสกุล​  Euphorbia ในวงศ์​  Euphorbiaceae  มีพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกันมากกว่า​ 7600  ชนิด​ ทั่วโลก


     เป็นพืชอวบน้ำ​  เติบโตได้ดีในสภาพอากาศแบบแห้งแล้ง​  ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่​  มีลำต้นเล็กและใบน้อย​  ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นเกลียวหรือเหลี่ยม​  ผิวลำต้นเต็มไปด้วยหนามและแข็งคล้ายกระบองเพชร​  เป็นหนึ่งในไม้มงคล​  เชื่อกันว่าถ้าบ้านไหนมีดอกโป๊ยเซียนออกครบ​ 8​ ดอก​ จะนำความโชคดีมาให้แก่บ้านของผู้นั้น​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับหรือเพื่อการค้า

28.​ ดอกทานตะวัน​ (Common sunflower)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ บัวผัด​ บัวทอง​ บัวตอง​ ช้อนตะวัน​  ทานหวัน  เซี่ยงยื่อขุย​ เหี่ยวหยิกขุ้ย​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Asteraceae  สกุล​ Helianthus   มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ​  เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุประมาณ​ 1​ ปี​ ลำต้นตรงเป็นสีเขียวแกนแข็งไม่มีการแตกแขนง​  ยกเว้นบางสายพันธุ์​  ตามต้นมีขนยาวสีขาวค่อนข้างแข็งปกคลุมตลอด​  เป็นระบบรากแก้ว​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน​  ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างกลมหรือกลมเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ​  สีของใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน​ เขียวและเขียวเข้ม​  แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์​  ปลายใบแหลม​ โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ​  ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน​ หลังและท้องใบหยาบ​  มีขนสีขาวทั้ง​ 2​ ด้าน​  มีก้านใบยาว​  ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกดอกที่ปลายยอด​  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ​ มีขนาดใหญ่สีเหลืองเข้ม​  มีกลีบดอกเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ​ มีลักษณะเป็นรูปไข่​  ปลายกลีบดอกแหลมเป็นสีเหลืองสด​  ด้านในกลีบช่อดอกมีลักษณะเป็นจาน​  ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก​  กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมม่วงและภายในมีผลจำนวนมาก​  ผลหรือเมล็ด​ เป็นผลแห้งและมีจำนวนมากอยู่ตรงฐานดอก​  ลักษณะเป็นรูปรีและแบนนูน​  ด้านหนึ่งมนอีกด้านหนึ่งแหลม​  เปลือกหุ้มผลแข็งเป็นสีเทาเข้มหรือสีดำและเป็นลาย​  ภายในมีเมล็ดสีเหลืองอ่อนเพียง​ 1​ เมล็ดเรียวรี​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ เพื่อการค้า​  เป็นสมุนไพร​  ดอกและฝักแก้อีสุกอีใส​  ดอกช่วยขับลม​ รากช่วยแก้อาการฟกช้ำ​ เป็นยาระบาย​  แก้ปวดท้อง​  แน่นหน้าอก​  น้ำมันจากเมล็ดช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้​  เป็นต้น

29. ดอกต้อยติ่ง​ (Waterkanon)​



     ต้อยติ่งมีอยู่​ 2​ ชนิด​ คือ​ ต้อยติ่งไทย​ เป็นต้อยติ่งดั้งเดิมของไทยซึ่งปัจจุบันจะพบเห็นน้อยลงทุกที​  และอีกชนิดหนึ่งคือ​ ต้อยติ่งฝรั่ง​  เป็นชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไป​  ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน​  ทั้ง​ 2​ ชนิดมีลักษณะของดอกที่คล้ายคลึงกันแต่จะแตกต่างกันตรงส่วนใบ​  ซึ่งใบของต้อยติ่งฝรั่งจะมีขนาดเล็กกว่าต้อยติ่งไทยแต่จะโตเร็วกว่าต้อยติ่งไทย​  ต้อยติ่งจะออกดอกเป็นสีม่วงคราม​  สีชมพู​ หรือสีขาว​  แล้วแต่พันธุ์​  ลักษณะใบจะเรียวยาวแคบ​ จัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกมีลำต้นสูงประมาณ​ 20-30​ ซม.​ (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ​ 60-100 ซม.)​ ลำต้นจะมีขนอ่อนๆ​ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย​  ขยายพัธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด​  สามารถปลูกได้ง่ายจึงนิยมปลูกไว้ตามบ้าน​  สรรพคุณทางยาของต้อยติ่งไทยและฝรั่งจะคล้ายคลึงกัน​  คือ​ รากใช้เป็นยารักษาโรคไอกรน​  เป็นยาขับเลือด​ ดับพิษในร่างกาย​  เป็นต้น

30. ดอกเฟื่องฟ้า​ (Paper​ flower)​


     เฟื่องฟ้ามีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  ดอกโคม​  ดอกต่างใบ​  ดอกตรุษจีน​  ดอกกระดาษ​  ดอกเย่จื่อฮวา​ ดอกจื่อซานฮวา​  เป็นต้น​  เป็นไม้ประดับประเภทพุ่มกึ่งรอเลื้อย​  ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่  มีหนามขึ้นตามลำต้น​  มีหลายสี  เช่น​  สีชมพู​ สีม่วง​ สีแดง​ สีส้ม​ สีขาว​ สีเหลืองและอื่นๆ​  มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปอเมริกาใต้​  เป็นไม้ในวงศ์​  Nyctaginaceae​ สกุล​  Bougainvillea  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง​  แต่ละช่อมี​ 3​ ดอก​  เป็นหลอดยาวประมาณ​1-2 ซม.​  มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ​  ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกสลับกิ่งหรือเยื้องกัน​  มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อยมีสีเขียวหรือใบด่าง​  รูปร่างรีแหลม​  ยาวประมาณ​ 3-6​ ซม.​  ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่


     ประโยชน์ของเฟื่องฟ้า​ คือ​  เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ ปลูกตามสวนหน้าบ้านหรือปลูกในกระถางประดับอาคาร​  ดอกนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้า​  สีผสมอาหาร​  เป็นไม้มงคล​  คนไทยโบราณเชื่อว่าปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้านสามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น​  เป็นต้น

31.​ ดอกพุทธรักษา​  (Canna)​


      เป็นพรรณไม้ล้มลุก​  เนื้ออ่อนอวบน้ำ​  ลำต้นสูงประมาณ​ 1-2 เมตร​  ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น​  มีกลีบดอกบางนิ่ม​  ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์​  มีทั้งสีเหลือง​  สีแดง​  สีชมพู​  เป็นต้น​  มีลำต้นอยู่ใต้ดิน​  เรียกว่าเหง้า​ มีการเจริญเติบโตโดยการแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย​ เป็นไม้ในเขตร้อนตามบันทึกถูกพบครั้งแรกในหมู่เกาะเวสอินดี้​และแถบอเมริกาใต้​  พบได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอนในเขตต่างๆ​  ลักษณะช่อดอกมีหลากหลายสีสัน​  ปลูกง่ายและสวยงามอยู่เสมอ​  เป็นพันธุ์ไม้ที่มีชื่อมงคลนาม


     เป็นพืชในตระกูล​ Zingiberales วงศ์​  Cannaceae​  ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  ดอกใช้ห้ามเลือด​  ความเชื่อในสมัยก่อนบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง​ ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อยู่อาศัยได้  เพราะเชื่อกันว่ามีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุขนั่นเอง​ เป็นต้น

32.​ ดอกสับปะรดสี​ (Bromeliad)


      สับปะรดสี​ เป็นพรรณไม้ที่มีความสวยงามสดใสแตกต่างกันออกไป​ มีมากมายหลายสี  เป็นพันธุ์ไม้ชนิดอิงอาศัย​ มีรากขขนาดเล็กสำหรับยึดเกาะตามกิ่งไม้​ ซากไม้หรือแม้แต่ก้อนหินที่มีความชื้น


      เป็นไม้ในวงศ์​ Bromeliaceae  มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา​  ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ​ การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


      ลำต้นแข็ง​  บางชนิดมีลำต้นสั้น​  บางชนิดมีลำต้นยาว​  ทำให้ใบเหลื่อมกันเป็นวงเห็นเป็นรูปกรวยกว้าง​  ลักษณะต้นมีทั้งตรงและเลื้อย​  รากเป็นระบบรากฝอยโดยบางชนิดทำหน้าที่ดูดอาหาร​  ความชื้น​ และยึดเกาะ​  แต่บางชนิดมีหน้าที่เพียงตัวเกาะยึดเท่านั้น​  และบางชนิดไม่มีราก


      ใบมีลวดลายและสีสันที่สวยงามแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์​  มีลักษณะตั้งแต่ใบกว้างจนถึงใบคล้ายใบหญ้า​  บางชนิดขอบใบเรียบ​ บางชนิดขอบใบหยักหรือเป็นหนาม​ บางชนิดจะมาก่ายทับกันใบต่อใบและทับกันแน่นโดยรอบฐานและดูเป็นแอ่งน้ำอยู่ตรงกลางอย่างหลวมๆ​ หรืออาจจะมีลักษณะคล้ายหลอด​  ส่วนมากจะมีลักษณะคล้ายถ้วยโดยใบที่ก่ายทับกันนี้จะทำหน้าที่ขังน้ำไว้​  ดอกมีกลีบดอก​ 2​ กลีบ​ กลีบเลี้ยง​ 3​ กลีบ​ เกสรตัวผู้​ 6​ อัน​  เกสรตัวเมีย​ 3​ อัน​ มีรังไข่​ 3​ อัน​ ศึ่งตามปกติดอกจะมีอายุสั้น​ ในขณะที่ส่วนที่มีสีสันสวยงามนั้นยังอยู่ได้อีกนานหลายสัปดาห์​  ซึ่งส่วนนี้คือใบประดับ​ บางชนิดใบจะมีสีสดใสขึ้ในช่วงหลังและก่อนการให้ดอก​  โดยสีที่สดใสนี้ตามธรรมชาติจะช่วยในเรื่องของการล่อแมลงเพื่อมาผสมเกสร​  ผลมีทั้งแบบ​ Capsule  และ​ Berry   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ ปลูกเป็นไม้แขวน  ปลูกเป็นไม้ตัดดอก​ ไม้กระถาง​  เพื่อการค้า​  เป็นต้น

33. ดอกจันผา​ (Dracaena loureiri)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ จันทน์แดง​  ลักกะจันทน์​  จันทน์ผา​ ลักจั่น​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Dracaenaceae สกุล​ Dracaena​ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย​  เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก​  ไม่ผลัดใบ​  เรือนยอดรูปทรงไข่​  เมื่อต้นโตจะแผ่กว้าง​ เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาแตกเป็นร่องตามยาว​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับถี่ๆ​ ที่ปลายกิ่ง​  ใบรูปแถบยาวแคบปลายใบแหลมโคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น​  ผิวด้านบนสีเขียวเข้ม​  ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนทับกันรอบลำต้น​  ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง​  มีดอกจำนวนมาก​  กลีบดอก​ 6​ กลีบ​ มีดอกสีขาวนวลตรงกลางดอกมีจุดสีแดงมีกลิ่นหอม​  ผลสดทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง​  ผลอ่อนสีเขียว​  ผลแก่สีแดงคล้ำมีเมล็ดเดี๋ยว​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือแยกกอ ​  ประโยชน์​  ใช้งานด้านภูมิทัศน์​  ปลูกเพื่อประดับ​ เป็นไม้มงคล​  เป็นสมุนไพร​  แก่นและทั้งต้นช่วยบำรุงหัวใจ​  แก้ปวดศรีษะ​ รักษาเลือดออกตามไรฟัน​ แก้ปวดบวม​  แก่นเนื้อไม้แก้ไข้​ แก้ไอ​ เมล็ดรักษาดีซ่าน​  ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย​  เป็นต้น

34. ดอกว่านแสงอาทิตย์​  (Blood  lily)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ว่านกุมารทอง​ ว่าพู่จอมพล​ ดอกพฤษภาคม​ ว่านตะกร้อ​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Amaryllidaceae  สกุล​ Scadoxus  มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาเขตร้อน​  ขึ้นได้ทุกสภาพดิน​  ปลูกง่าย​  เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี  มีหัวใต้ดินแบบหัวหอม​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบต้น​ เป็นรูปรีแกมขอบขนาน​  โคนใบสอบ​ ปลายใบมนขอบใบเรียบสีเขียวอมเหลืองนิดๆ​ มีจุดแดงอมดำตลอดลำต้น​  ยุบตัวเหลือแต่หัวในฤดูแล้ง​ พอฤดูฝนจะออกดอกก่อนแล้วจึงแตกใบ​  ดอกออกเป็นช่อมีก้านดอกกลมสีเขียวดอกเป็นฝอยคล้ายพู่สีแดงรูปทรงกลม​  ดอกด้านนอกจะบานก่อนดอกด้านใน​ เมื่อบานจะไม่มีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ชนิดอื่น​  ผลรูปทรงกลมณี​ ผิวเกลี้ยง​ ผลดิบมีสีเขียว​ ผลสุกมีสีแดงส้มภายในผลมีประมาณ​ 3​ เมล็ด​  ขยายพันธุ์ด้วยหัวหรือแยกหน่อ​  ปะโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ เป็นไม้มงคล​  คนโบราณเชื่อว่าช่วยคุ้มภัย​ มีอำนาจและเมตตามหานิยม​  เพื่อการค้า​ ดอกนิยมนำมาผสมน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรนวดตัวเพื่อช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้า​  เป็นต้น

35.​ ดอกกุหลาบหิน​ (Star  cactus)​


      มีชื่ออื่นๆ​  ว่า​  กาลังโช  เป็นพืชในวงศ์​ Crassulaceae สกุล​ Kalanchoe  มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสการ์​ แอฟริกา​ และเอเชีย


      เป็นไม้ล้มลุกอวบน้ำทรงพุ่ม​  สูงประมาณ​ 20-50​ ซม.​   ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากสีเขียวหรือเขียวอมแดงรูปรีหรือรูปไข่​  ปลายมนโคนตัดหรือมนขอบหยักห่างๆ​ แบบซี่ฟันตื้นๆ​ แผ่นใบหนาและอวบน้ำ​  ขอบใบและก้านใบสีค่อนข้างแดงเส้นใบเห็นไม่ชัด​   ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ​  แยกแขนงออกที่ยอด​  ช่อดอกชูสูงเหนือพุ่มใบ​  เป็นดอกย่อยขนาดเล็กๆ​  จำนวนมาก​  สีแดงอมส้มสด​  ปัจจุบันมีพันธุ์ที่เป็นพุ่มเตี้ยกระทัดรัด​  ใบขนาดเล็กและมีดอกสีต่างๆ​ เช่น​ สีส้ม​ สีชมพู​  สีเหลือง​  สีแดง​  เป็นต้น​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำ​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เพื่อการค้า​  เป็นไม้มงคล​  บางคนนิยมปลูกเพื่อถือเคล็ดว่าปลูกแล้วจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี​  เป็นสมุนไพร​  ต้นใช้ดองกับสุราดื่มขับน้ำคาวปลา​  ใบตำผสมสุราพอกฝี​  เป็นต้น

36. ดอกเข็ม​ (West  indian  jasmine)​


     เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง​  เป็นไม้สกุล​ Ixora  ในวงศ์​  Rubiaceae  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  และเป็นพรรณไม้พื้นเมืองแถบอเมริกาใต้​  มีลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นเล็กกลม​ เรียบสีน้ำตาล​ กิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน​ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่สลับกันรอบต้นและกิ่ง​ ใบแข็งเปราะสีเขียวสด​ โคนใบมนปลายใบแหลม​ ใบมีขนาดและรูปร่างต่างกันไปตามชนิดพันธุ์​  


      ออกดอกเป็นช่อออกตรงส่วนยอดซึ่งมีก้านดอกชูไว้ภายในช่อประกอบด้วยดอกเล็ก​ๆ​ กลีบเล็กแหลม​ ออกดอกตลอดปี​  ผลเป็นผลกลม​ ผลอ่อนสีเขียว​ ผลแก่สีดำ​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​ การปักชำและการตอนกิ่ง​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นสมุนไพร​  ดอกเข็มสามารถนำมาชุบแป้งหรือไข่ทอดทานเป็นอาหารได้​  เป็นไม้มงคล​ คนโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูดต้นเข็มไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม​  เป็นต้น

37. ดอกพวงคราม​  (Purple​ Wreath)​


      เป็นไม้พุ่มเลื้อยที่มีเถาใหญ่แข็งแรง​  กิ่งก้านก็ค่อนข้าแข็ง​  เถาอ่อนมีขนแต่เถาแก่ขนจะหายไป​  เป็นพืชในวงศ์​ Verbenaceae สกุล​ Petrea มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะ​เวสต์อินดีส​ ประเทศบราซิล​  เปลือกของต้นหรือเถาเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน​ เถาสามารถเลื้อยคลุมต้นไม้อื่นไปได้ไกลกว่า​ 20​ ฟุต​ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม​ รูปรีแกมรูปขอบขนาน​ ปลายใบแหลมโคนใบสอบ​ แผ่นใบค่อนข้างหนาแข็ง​ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม​ ด้านล่างสีจางกว่าและเป็นขุย​  ดอกเป็นช่อสีม่วงคราม​ มี​ 5​ กลีบ​ คล้ายรูปดาว​ 5​ แฉก​ กลีบรูปขอบขนาน​ ด้านบนของกลีบจะมีขน​ โคนกลีบดอกเชื่อมต่อกันเป็นหลอด​  ดอกค่อนข้างดกและจะบานทนนานได้หลายวัน​  ผลสดติดอยู่บนกลีบประดับมีขนนุ่มปกคลุม​ มี​ 1​ เมล็ด​ 


      ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​ การตอนและการปักชำ​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นซุ้มหน้าบ้านหรือตามกำแพง​  ดอกนำมาคั้นสกัดเอาน้ำสำหรับเป็นสีทำขนม​  ดอกต้มย้อมผ้าให้สีครามหรือสีม่วง​  เป็นสมุนไพร​  ลำต้นและกิ่งต้มดื่มแก้ปัสสาวะเล็ด​  แก้อาการท้องร่วง​  หรือโรคบิด​ แก้ริดสีดวงทวาร​ ดอกช่วยลดไขมันในเส้นเลือด​  บำรุงหัวใจ​  ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ​ ป้องกันโรคเบาหวาน​ ช่วยผ่อนคลาย​ เป็นต้น

38. ดอกเชอร์รี่​  (Cherry)​


     เป็นไม้ยืนต้นมีพุ่มขนาดกลาง​  ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว​  เป็นไม้ในสกุล​ Prunus สกุลย่อย​ Cerasus​  วงศ์​  Rosaceae  วงศ์ย่อย​  Prunoideae แหล่งที่เพาะปลูกมากที่สุดคือ​  ทวีปอเมริกา​  ทวีปยุโรป​  ออสเตรเลีย​ รวมไปถึงญี่ปุ่น​  เป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็น​  มีใบสีเขียวเข้ม​  ออกดอกสีขาวอมชมพู​สวยงาม​  มีผลกลมขนาดเล็ก​  เปลือกมีทั้งสีแดงเข้ม​  สีส้มและสีเหลืองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์​  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น​ 2​ กลุ่ม​ คือ​ เชอร์รี่หวานและเชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว​  ประโยชน์​  คือ​ ผลของเชอร์รี่นำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง​  ทานผลสด​หรือคั้นเป็นน้ำเชอร์รี่​  ทำขนม​  เป็นต้น

39. ดอกโมกแดง​  (Wrightia tree)​


     เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก​  ความสูงประมาณ​ 2​-5​เมตร​  มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​ โมกป่า​ โมกมัน​  มุ​ มูกมัน​  โมกราตรี​ จำปูนแดง​ เป็นต้น​  แตกกิ่งน้อยทรงพุ่มโปร่ง​ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็กๆ​ สีขาวประทั่วต้น​ ผิวเปลือกมีสีน้ำตาลดำ​  ใบเป็นใบเดี๋ยว​ เรียงตรงกันข้ามมีรูปรีหรือขอบขนานปลายใบเรียวแหลม​โคนใบรูปลิ่มกลม​  ดอกเป็นดอกเดี่ยวบางครั้งออกเป็นกระจุก​  กระจุกละ​ 1-4  ดอก​  ดอกทรงระฆังคว่ำห้อยลง​  กลีบดอกมี​ 5​ กลีบ​  คล้ายดาว​ บางคนจึงเรียกดอกโมกดาวชมพู​  ปลายกลีบแหลมด้านหน้ากลีบดอกมีสีส้มแดงอมชมพู​  ด้านหลังมีสีขาวนวล​ จะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว​  หรือมีกลิ่นเหมือนข้าวสุกที่เริ่มบูดนิดๆ​  คนใต้จึงมักเรียกว่า​ ต้นข้าวบูด


     ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ตอนกิ่งและแยกหน่อ​  การกระจายพันธุ์พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  ตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบ​ ออกดอกประปรายดอกตูมรูปพนมเรียวยาว​  กลีบม้วนเกาะกันเป็นรูปแหลม เป็นพืชในวงศ์​  Apocynaceae สกุล​ Wrightia​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ประดับดอกสวยงาม​ รากฝนกับน้ำใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด​  ยอดใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำมาใส่แกงได้​  เป็นต้น

40.​ ดอกหางนกยูง​ (Flam-boyant)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ นกยูง​ ชมพอหลวง​  นกยูงฝรั่ง​ ส้มพอหลวง​ หงอนยูง​ อินทรี​ ยูงทอง​ เป็นต้น​  เป็นไม้ในวงศ์​ Fabaceae​ , Leguminosae  สกุล​ Delonix   เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่​  ผลัดใบในหน้าแล้ง​ ทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง​  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น​  ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งมีกลีบหัวกลับ​ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม​และสีเหลือง​  ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว​  เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ


     มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์​  ทวีปแอฟริกา​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก​ และสามารถใช้วิธีติดตา​ ต่อกิ่งเสียบยอด​   ประโยชน์​  ปลูกเพื่อประดับและเป็นร่มเงา​ รากนำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหาร​  เมล็ดอ่อนสามารถทานสดได้​ ส่วนเมล็ดแก่นำมาต้มทานได้​  เป็นสมุนไพรขับโลหิตในสตรี​ แก้อาการบวมต่างๆ​  ลำต้นนำมาฝนทาแก้พิษ​ ถอนพิษสัตว์กัดต่อยได้  เป็นต้น

41. ดอกบีโกเนีย  (Begonia)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ส้มกุ้ง​ ก้ามกุ้ง​ สมมติ​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Begoniaceae  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียและอเมริกา​  พบตามป่าดิบชื้นทั่วทุกภาค


      เป็นไม้อวบน้ำอายุยืน​ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน​  ลำต้นสูงจากพื้นดินประมาณ​ 15-45 ซม.​  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ​  ออกสลับเวียนรอบลำต้น​  บางชนิดมีขนเหมือนกำมะหยี่​  รูปร่าง​  ขนาด​  และสีสันแตกต่างกันไปตามแต่สายพันธุ์​   


      ดอกออกเป็นช่อแทงทะลุซอกใบ​  ช่อดอกตัวผู้แยกออกจากช่อดอกตัวเมียแต่อยู่บนต้นเดียวกัน​  ดอกตัวเมีมีรังไข่ที่โป่งออกเป็นปีกสามแฉกที่โคนดอก​  ดอกตัวเมียบานทนกว่าดอกตัวผู้​  ดอกมีหลายสี  เช่น​ สีส้ม​ สีขาว​ สีชมพู​  เป็นต้น​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ปักชำยอดและใบ​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  ปลูกคลุมดิน​  เป็นไม้กระถาง​ หรือในภาชนะแขวน​  บางชนิดที่พบตามป่าเขามีรสเปรี้ยวสามารถนำมาประกอบอาหารได้​  ส่วนบีโกเนียที่ไม่ควรทานจะเป็นกลุ่มใบกำมะหยี่​  เป็นต้น  

42.​ ดอกโคลงเคลง​ (Malabar  melastome)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​ สำเหร่​ กะดูดุ​ ซิบะโพะ เหม่​ ตาลาเดาะ​ โคลงเคลงขี้นก​ กาดูโด๊ะ​ มายะ​ ตะลาเดาะ​ มายะ​ อ้า​ อ้าหลวง​ เบร์  มะเหร มังเคร มังเร สาเร สำเร  เป็นต้น​ เป็นไม้พุ่มดอกล้มลุก​ วงศ์​ Melastomataceae สกุล​ Melastoma ประเภทใบเลี้ยงคู่​ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีน้ำตาลแดง​ กิ่งเป็นเหลี่ยมมักมีขนปกคลุม​ ใบเป็นใบเดี่ยวคู่ตรงข้าม​ ออกจากจุดเดียวกัน​ตรงฐานใบแล้วเบนเข้าหาปลายใบ​ เรียงแบบสลับน้อย​ เส้นใบย่อยเรียงเรียงแบบขันบันได​ ออกดอกเป็นช่อไม่มีหูใบ​ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ​ มีสมมาตรตามรัศมี​ ผลเมื่อแก่เปลือกจะแห้งและแตกออก​ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก​ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย​ มาเลเซีย​ ออสเตรเลีย​ ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดและแยกกอ  ประโยชน์​ ปลูกเพื่อประดับ​เป็นยาพื้นบ้าน​  แก้อาเจียนเป็นเลือด​ แก้คอพอก​ และถ่ายเป็นเลือด​ รากใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ​ บำรุงร่างกาย​ ดอกเป็นยาระงับประสาท​  เป็นต้น

43. ดอกถุงมือจิ้งจอก​ (Foxglove)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ดิจิทาลลิส  กระดิ่งคนตาย​ ถุงมือแม่มด​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Plantaginaceae สกุล​ Digitalis  มีถิ่นกำเนิดอยู่ในยุโรป​  เอเชียตะวันตก​  เอเชียกลางและทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา​  เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงฤดูเดียว​  หรือหลายฤดู​  แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ยๆ​  มีความสูงประมาณ​  30-40 ซม.


      ใบออกเป็นใบเดี่ยวตามลำต้นมีลักษณะเป็นรูปไข่​ โคนใบมน​ ปลายใบแหลมขอบใบเป็นหยักถี่ๆ​  แผ่นใบสีเขียว​  มีขนนุ่มๆ​ ปกคลุม​  ก้านใบสั้นหรืออาจไม่มีก้านใบ​  ดอกออกเป็นช่อ​  ก้านช่อดอกแข็งและยาว​  กลีบดอกบาง​  โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด​  ภายในหลอดดอกมีจุดประสีดำอยู่ทั่ว​  มีดอกสวยงามทั้งสีเหลือง​  สีขาว​  สีชมพู​  สีม่วงและสีแดง​  ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่จำนวนมาก​  มักให้ดอกได้มากในปีถัดไป​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เพื่อการค้า​  เป็นสมุนไพร​  สารที่สกัดได้จาดถุงมือจิ้งจอกใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจได้​  แต่บางสายพันธุ์ก็มีพิษร้ายแรงถึงชีวิต​  เป็นต้น

44. ดอกไฮยาซินธ์ (Hyacinth)​


      เป็นไม้หัว​  มีดอกหลากหลายสีโดยแต่ละสีก็จะมีความหมายแตกต่างกันไป​  ได้แก่​  สีม่วงแทนการขอโทษ​  สีแดงแทนความหลงไหลหรือการแข่งขัน​  สีฟ้าแทนความซื่อสัตย์​  สีเหลืองแทนความอิจฉาริษยา​ และสีขาวแทนความรักอันบริสุทธิ์การขอพรต่อพระเจ้า​  เป็นต้น​  เป็นดอกไม้ตระกูลที่ปลูกจากหัว​  เป็นพืชในวงศ์​  Hyacinthaceae  สกุล​  Hyacinthus L. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ


      มีถิ่นกำเนิดมาจากตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงทางตะวันออกของอิหร่านและเติร์กเมนิสถาน​  ก่อนหน้านี้จัดเป็นวงศ์เดียวกับต้นลิลลี่​  แต่ปัจจุบันแยกเป็นอิสระและมีวงศ์ของตัวเอง​  อายุหลายปี เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นใหม่หรือการเกิดใหม่​  ดอกไม้ที่มีรูปร่างคล้ายระฆังน้อยยามแรกผลิที่มองดูคล้ายดาวห้าแฉกบานสะพรั่งขนาดเล็ก

45. ดอกกระถิน​ (White​ popinae)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ กะเส็ดโคก​ กะเส็ดบก​ กระถินน้อย​ กระถินบ้าน​ ผักก้านถิน​ ผักหนองบก  กระถินไทย​ กระถินดอกบาง​  กระถินหัวหงอก​  ตอเขา​ สะตอเทศ​ สะตอบ้าน​ กระถินยักษ์​ เป็นต้น​   เป็นพืชในวงศ์​ Fabaceae สกุล​ Leguminosae  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด


      เป็นไม้พุ่มหรือไม่ยืนต้นขนาดเล็ก​ ไม่ผลัดใบ​  ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่หรือกลม​ เปลือกต้นมีสีเทา​  และมีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป​  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับกัน​  แกนกลางใบประกอบมีขนเรียงตรงข้ามกัน​  ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน​ โคนใบเบี้ยวปลายใบแหลมขอบใบมีขน​  ดอกออกเป็นช่อแบบกะจุกแน่นตามง่ามใบและปลายกิ่ง​  กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูประฆัง​  ส่วนปลายแยกเป็น​ 3​ เหลี่ยมเล็ก​ 5​ แฉกมีขน​  ฝักมีลักษณะแบนปลายฝักแหลม​ โคนสอบ​ ฝักเมื่อแก่จะแตกตามยาวในฝักจะมีเมล็ดเรียงขวางกันอยู่  เมล็ดเป็นรูปไข่แบนกว้างมีสีน้ำตาลและเป็นมัน​  ประโยชน์​  ยอดอ่อน​ ฝักอ่อน​ และเมล็ดใช้รับประทานเป็นผักได้​  เป็นสมุนไพร​  ยอดอ่อนฝักอ่อนช่วยบำรุงหัวใจ​  เจริญอาหาร​  แก้ร้อนในกระหายน้ำ​  บำรุงและรักษาสายตา​  เป็นต้น

46. ดอกไฮเดรนเยีย​ (Hydrangea)​


      เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ​ 1-3 เมตร​  จัดเป็นพืชหลายฤดูชอบอากาศหนาวเย็น​  บางชนิดเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้เลื้อยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นไม้พุ่มเตี้ย​  เป็นพืชในวงศ์​  Hydrangeaceae สกุล​ Hydrangea  มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออก​  อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้​  ใบเกิดแบบตรงข้ามแผ่นใบมีขนาดกว้างใหญ่ขอบใบจักช่อดอกเกิดส่วนปลายกิ่งหรือยอด​   ลำต้นประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์​  อาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้​  แต่ถ้าเป็นชนิดที่อยู่เขตอบอุ่นจะผลัดใบพักตัวในฤดูหนาว​   ดอกออกเป็นช่อแบบเชิงหลั่นหรือช่อแยกแขนง​  ดอกเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น​  ช่อดอกประกอบด้วยดอก​ 2​ แบบ​  คือ​ กลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็กที่อยู่บริเวณใจกลางช่อใหญ่​  ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอกประดับดูสะดุดตา​  เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่​  ดอกจะมีหลายสีเช่น​  สีขาว​ สีน้ำเงิน​  สีแดง​ สีชมพู​  หรือสีม่วง​  ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก​


      ขายพันธุ์ด้วยการปักชำ​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​   เพื่อการค้า​   สมุนไพร​ช่วยรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ​  โรคนิวในไต​  แก้อาการคลื้นไส้​  บรรเทาอาการปวดหลัง​  ลักปิดลักเปิด​  พอกแผลได้​  เป็นต้น

47. ดอกจามจุรี​ (East​  Indian  Walnut)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ก้ามกราม​ ก้ามกุ้ง​  ฉำฉา​ ตุ๊ดตู่​ ลัง​ สารสา​ ก้ามปู​ เป็นต้น​ ​ เป็นพืชในวงศ์​ Mimosaceae มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้เขตร้อน​  เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่​ สูงประมาณ​ 15-20​ เมตร​ ผลัดใบเรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกว้างคล้ายร่ม​  โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ​  เปลือกสีน้ำตาลปนเทาแตกตามยาวขรุขระไม่เป็นระเบียบ​  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่​  เรียงสลับ​  ใบย่อยเรียงตรงข้ามใบรูปไข่​ รูปรีหรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน​  ปลายแหลม​  โคนใบบิดเบี้ยว​  ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน​  ด้านล่างมีขนนุ่ม​  ขอบใบเรียบไม่มีก้านใบย่อย​   ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น​  ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง​  สีเหลืองปนเขียว​  กลีบเลี้ยง​ 7-8  กลีบ​ กลีบดอกโคนเชื่อมติดเป็นถ้วย​  ปลายแยก​ 5​ แฉก​ เป็นรูปแตร​  เกสรเพศผู้จำนวนมากยาวโผล่พ้นกลีบดอกสีชมพูอ่อน​  บริเวณโคนมีสีขาว​  ดอกย่อยขนาดเล็ก​   ผลเป็นฝักแห้งรูปขอบขนานสีน้ำตาลดำ​  คอดเป็นตอนระหว่างเมล็ด​  เมล็ดแบนสีน้ำตาลเข้มปนดำเป็นมัน​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  ปลูกใช้งานด้านภูมิทัศน์​  เป็นร่มเงา​  เป็นสมุนไพร​  เปลือกต้นป่นละเอียดเป็นยาสมานแผล​  เปลือกต้นและเมล็ดรักษาอาการบิด​  ท้องเสีย​  ใบแก้ปวดแสบปวดร้อน​  เมล็ดแก้โรคผิวหนัง​  ฝักแก่เป็นอาหารสัตว์​  เนื้อไม้ใช้ในงานแกะสลัก​  ทำเครื่องใช้​  เครื่องเรือนต่างๆ​  เป็นต้น

48. ดอกลิลลี่​ (Lily)​


     เป็นไม้ดอกประเภทหัวอยู่ใต้ดิน​  เป็นพืชในวงศ์​ Liliaceae สกุล​ Lilium  มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย​ แถวๆ​ จีนและญี่ปุ่น​  หัวคือส่วนของลำต้นที่อัดตัวกันแน่นประกอบด้วยฐานของหัว  ลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ​  ด้านบนเป็นกลีบเรียงซ้อนกัน​เป็นชั้นคล้ายกลีบหอมหัวใหญ่​  หน้าที่สะสมอาหาร​  ด้านล่างของฐานจะมีรากงอกออกมา​  ดอกจะมีกลีบดอก​ 6​ กลีบ​  แยกออกจากกัน​  มีเกสรตัวผู้ชูขึ้นใจกลางดอก​  ดอกมีหลายสี  เช่น​ สีขาว​ สีส้ม​ สีชมพู​ สีแดง​ สีม่วง​ และมีสองสีในดอกเดียวกัน​ เป็นต้น​ บางสายพันธุ์จุดกระบนกลีบดอก​  ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หัวปักชำ​  ประโยชน์​  เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เพื่อการค้า​ สารสกัดที่ได้จากดอกลิลลี่สีขาวช่วยบำรุงผิว​  ช่วยลดเลือนรอยหมองคล้ำบริเวณใต้ผิวหนัง​  ทำชาดื่ม​  สรรพคุณทางยาเป็นยาแก้ปวด​  ขับเสมหะ​  เป็นยาระบาย​  เป็นต้น
  
49. ดอกว่านมหาลาภ​ (Phaedranassa)​


       เป็นไม้ล้มลุกมีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวหอม​  เป็นพืชในวงศ์​ Amaryllidaceae  สกุล​  Eucrosia  มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอกวาดอร์และเปรู​  ขยายพันธุ์ด้วยหัวหรือหน่อ


      ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกกว้าง​  โคนใบแคบ​  ปลายใบแหลม​  กลางใบขยายกว้าง​  แผ่นใบเรียบ​  ขอบใบเรียบและเป็นมัน​  มีเส้นกลางใบมองเห็นชัดเชน​  ใบอ่อนจะม้วนตัวลง​   ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ​  กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปกรวย​  ดอกสีแดง​  เกสรสีส้ม​  บางทีจะเห็นดอกสีส้มเกสรสีเหลือง​  ดอกอยู่ได้นานเป็นอาทิตย์​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นไม้มงคล​  เชื่อว่า​  ช่วยเสริมฮวงจุ้ยที่ดี​  เสริมโชคลาภ​  มีคุณด้านเมตตามหานิยม​  ปลูกเลี้ยงดีจะชักนำให้เกิดลาภทวีคูณหลายประการ​  เป็นต้น

50.​ ดอกมะขาม​ (Tamarind)​


       มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ มะขามไทย​ ขาม​ ตะลูบ​ ม่วงโคล้ง  อำเปียล​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Leguminosae  หรือ​ Fabaceae  สกุล​ Tamarindus  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาเขตร้อน​  และนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย​  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากมาย​ ไม่มีหนาม​  เปลือกต้นขรุขระและหนาสีน้ำตาลอ่อน​  ใบเป็นใบประกอบ​  ใบเล็กออกตามกิ่งก้าน​  ใบเป็นคู่​  ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน​  ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ​ ตามปลายกิ่ง​  หนึ่งช่อจะมีประมาณ​ 10-15​ ดอก​  ดอกย่อยขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงหรือม่วงแดงอยู่กลางดอก​  ใบมะขามเป็นใบประกอบแบบขนนก​  ผลเป็นฝักยาวรูปร่างยาวหรือโค้ง​  ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา​  สีน้ำตาลเกรียม​  เนื้อในติดกับเปลือก​  เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่ายสีน้ำตาล​  เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด​มีรสเปรี้ยวหรือหวานแล้วแต่สายพันธุ์​ เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีดำ​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  การทาบกิ่ง​ การติดตาหรือตอนกิ่ง​ ประโยชน์​  ใช้ประกอบอาหารได้​ ผลทานเป็นผลไม้​  เนื้อไม้ใช้ทำเขียง​ ครก​ สาก​ เผาถ่าน​ เป็นไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์​  เป็นสมุนไพรช่วยระบาย​ ยาถ่าย​ ขับลมในลำไส้​ แก้ไอ​ แก้บิด​ รักษาหวัด​  ขับเสมหะ​  เป็นยาลดความดันโลหิตสูง​  เป็นต้น

51. ดอกอินทนิล​  (Queen's  flower)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  อินทนิลน้ำ​  ตะแบกอินเดีย​  ซอง​  ตะแบกดำ​   บาเย  บางอบะซา​   ฉ่องพนา​   บาเอ​  ฉ่องมูู​  เป็นต้น​   เป็นพืชในวงศ์​  Lythraceae  สกุล​ Lagerstoemia  มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย​   การกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวัออกเฉียงใต้​  ตามที่ราบลุ่มและริมน้ำ​  เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดสกลนครและจังหวัดระนอง​   เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่​  เปลือกลำต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน​  ผิวค่อนข้างเรียบ​ ​ อาจแตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ​  บ้างเล็กน้อย​   ใบเป็นใบเดี๋ยว​  ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย​  ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก​   เนื้อใบค่อนข้างหนาเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน​  โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย​  ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม


      ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ๆ​ ปลายกิ่ง​  มีสีต่างๆ​  กัน​  เช่น​ สีม่วงสด​  สีม่วงอมชมพูหรือสีชมพูล้วนๆ​ ตรงส่วนบนสุดของดอกตูจะมีตุ่มกลมเล็กๆ​  ติดอยู่ตรงกลาง​  ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด​  มีขนสั้นปกคลุมประปราย​  ผลเมื่อแก่เต็มที่จะแตกและโรยเมล็ด​  ขยายด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ประดับ​  เป็นร่มเงา​  เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน​  เป็นสมุนไพร​ เปลือกแก้ไข้​  แก้ท้องเสีย​  ใบต้มหรืิชงกับน้ำร้อนดื่ม​  แก้โรคเบาหวาน​  ขับปัสสาวะ​  เป็นยาลดความดัน​  เมล็ด​แก้โรคเบาหวาน​  แก้นอนไม่หลับ​  เป็นต้น

52. ดอกปอเทือง​ (Sunn hemp)​


      เป็นพืชล้มลุกปีเดียว​  ลำต้นลักษณะตั้งตรงเรียวสูง​  ลำต้นแตกกิ่งน้อยถึงปานกลาง​ เปลือกบาง​  มีสีเขียว​  สามารถลอกเป็นเส้นได้​  แก่นหรือเนื้อไม้เป็นไม้อ่อนเปราะหักง่าย​  เป็นพืชในวงศ์​  Leguminosae  มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา​  ใบเป็นใบเลี้ยงคู่​  แตกใบเยื้องสลับกันตามความสูงของลำต้น​  ใบมีก้านใบสั้น​  ใบมีรูปยาวรี​  ใบอ่อนมีสีเขียวสดใบแก่มีสีเขียวอมเทา​  โคนใบสอบเล็กปลายใบแหลมแผ่นใบและขอบเรียบ​  มีเส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบตรงข้ามกัน​  ทำให้มองดูแผ่นใบมีลายแถบ​  ดอกออกเป็นช่อแบบบราซีม   บริเวณปลายยอดของกิ่งดอกตูมมีสีเขียวอมเหลือง​  ดอกบานมีกลีบดอกสีเหลือง


      ผลเรียกฝักมีลักษณะทรงกระบอก​  ฝักอ่อนมีสีเขียวสด​  เมื่อแก่มีสีน้ำตาล​  ภายในฝักเป็นโพรงอากาศที่มีเล็ดบรรจุอยู่​  เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังที่เกิดจากเมล็ดกระทบเปลือกฝัก​  เมล็ดมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจเปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมดำ   ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  ปลูกใช้เป็นปุ๋ยสดบำรุงดิน​  ปรับสภาพดิน​  เป็นอาหารสัตว์​  ปลูกเพื่อการค้า​  ดอกนำมาต้มจิ้มน้ำพริกได้​  เป็นสมุนไพร​ ลดอาการท้องเฟ้อขับลม​  ต้นปอเทืองนำมาต้มน้ำอาบเพื่อแก้อาการคัน​  ลำต้นใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ​  เป็นต้น
      
53. ดอกว่านสี่ทิศ​ (Amaryllis)​


      เป็นพืชล้มลุกอายุนานหลายปี  เป็นไม้ดอกไม้ประดับประเภทหัว​  เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว​  ในวงศ์​ Amaryllidaceae  มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และทวีปอัฟริกา​  มีหัวเป็นลำต้นใต้ดินประกอบด้วยข้อสั้นๆ​ อัดแน่นอยู่บริเวณส่วนล่างของหัวที่เรียกว่าฐานหัว​  มีลักษณะเป็นหัวกลมคล้ายหอมหัวใหญ่​  ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหาร​  ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเรียงสลับจากกาบใบ​ (หัว)​ บริเวณโคนใบโค้งงอเข้าหากันจนถึงกลางใบ​ทำให้มองดูคล้ายลำต้น​  แต่ละใบจะแผ่ออกเป็นแผ่นในช่วงปลายใบมีรูปร่างเรียวยาว​  อวบน้ำ​  ขอบใบเรียบปลายใบแหลมรูปทรงคล้ายดาบจีน​  สีของใบจะมีสีเขียวยกเว้นบางพันธุ์จะมีสีครีมหรือสีแดงเข้มตามขอบหรือปลายใบ


      ดอกออกเป็นช่อแบบ​ Umbel  ก้านช่อมีสีเขียว​ขนาดใหญ่ตั้งตรงยาวอวบน้ำ​  มีทั้งก้านช่อดอกกลวงและตัน​  ผิวก้านช่อดอกมีใบเคลือบก้านดอกย่อยจะแตกออก​  ส่วนปลายก้านช่อมีลักษณะกลมหรือเหลี่ยมเล็กน้อยขนาดเท่าๆ​ กัน​  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ​  ผลเป็นแบบ​ Capsule  แบ่งเป็น​ 3​ ส่วน​  ภายในประกอบด้วยเมล็ดมีขนาดใหญ่และแบนมีสีดำเมื่อแก่​   ขยายพันธุ์ด้วยหัวปักชำ​  หรือเหง้าใหม่ที่แตกออกแบ่งปลูก​  ประโยชน์​  เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เพื่อการค้า​  เป็นไม้มงคล​เชื่อว่าเสริมโชคลาภวาสนาบารมี​  ช่วยปกป้องคุ้มภัยต่างๆ​  เป็นสมุนไพรรักษาฝี​  เป็นต้น

54. ดอกผกากรอง​  (Lantana)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ เบญจมาศป่า​  ก้ามกุ้ง​  ตะปู​ ขะจาย  มะจาย​  ดอกไม้จีน​ ขี้กาคำขี้ไก่​ เบ็งละมาศ​ สาบแร้ง​ สามสิบ​ ไม้จีน​ หญ้าสาบแร้ง​  เป็นต้น


     เป็นไม้ในวงศ์​ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาเหนือและใต้​  เขตกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อน​  เป็นไม้พุ่ม​ ต้นสูงประมาณ​ 1​ เมตร​ และชนิดเลื้อยคลุมดิน​ อายุหลายปี  ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอมเขียว​ เมื่ออายุมากมีเนื้อไม้​  ใบเดียวออกเป็นคู่ตรงข้ามรูปไข่แกมรูปขอบขนาน​  ใบจักซี่ผิวใบสากมีขนคายมือ​ สีเขียว​ ใต้ใบมีขนอ่อนสีขาว​  ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นตามซอกใบและปลายยอด​  ดอกย่อยรูปแตรมีหลายสี​ เช่น​ สีขาว​ สีส้ม​ สีเหลือง​ สีแดง​ สีชมพู​ เป็นต้น​  ผลเป็นผลกลุ่ม​ ผลย่อยรูปกลม​ สีเขียวแก่สีดำมีเนื้อนุ่ม​ มีเมล็ด​ 1​ เมล็ด​  ดอกและใบจะมีกลิ่นฉุน​  ออกดอกตลอดปี


      ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำและเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นสมุนไพร​  รากช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ​  ขับลม​  ช่วยแก้ปวดศรีษะ​  เป็นยาดับพิษแก้บวม​  ดอกแก้อักเสบ​  เป็นต้น

56. ดอกผักบุ้งไทย​ (Swamp cabbage)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  ผักบุ้งนา  ผักบุ้ง​  กำจร​  โหนเดาะ​  ผักบุ้งแดง​  มอนิ่งกลอรี่​  ผักขมแม่น้ำ​  ผักทอดยอด​  เป็นต้น​  เป็นไม้ล้มลุกมีข้อโปร่งเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินหรือผิวน้ำ​  เป็นพืชในสกุล​  Ipomoea​  วงศ์​ Convolvulaceae  ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน​  เป็นพันธุ์ท้องถิ่นและดั้งเดิมของไทย​  ผักบุ้งไทยแบ่งออกเป็น​ 2​ พันธุ์​ คือ​ พันธุ์ก้านแดง​ มีลำต้นสีเขียวเข้ม​  เขียวอมแดง​  หรือแดงม่วง​ ลำต้นค่อนข้างเหนียว​  ใบเป็นใบเดี๋ยว​ สีเขียวเข้มแทงออกบริเวณข้อตรงข้ามกันเป็นคู่​  ใบค่อนข้างยาว​ ฐานใบมนปลายใบแหลม​  ดอกจะออกเป็นช่อ​ กลีบเลี้ยงดอกมีสีเขียว​  กลีบดอกมีสีขาวอมม่วง​  ดอกมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ก้านสีขาว​  ส่วนอื่นมีลักษณะคล้ายกัน​  ผลมีลักษณะเป็นแคปซูล​  มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมสีดำ​ ฐานเมล็ดมนใหญ่​  พันธุ์ก้านขาว​ ลำต้นมีลักษณะอวบใหญ่​ สีเขียวอมขาวเล็กน้อย​ ลำต้นทั้งส่วนโคนและยอดจะให้เนื้อกรอบได้ดีมาก​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับตรงกันข้ามกัน​  ก้านใบใหญ่ยาว​ ฐานใบใหญ่มนเป็นรูปหัวใจ​  ก้านใบสีเขียวอมขาว​ ใบมีสีเขียวสด​ ดอกออกเป็นสีขาวทั่วดอก​  มีกลีบเลี้ยงสีเขียว​ ดอกใหญ่มีรูปทรงกรวยแทงออกตามซอกใบ​  ออกดอกเป็นช่อ​  ผลมีลักษณะคล้ายพันธุ์ก้านแดงแต่มีขนาดใหญ่กว่าทั้งฝักและเมล็ด


    การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือลำต้นแก่มีรากติดปักชำ​  ปลูกง่ายชอบขึ้นในน้ำหรือดินที่มีความชื้นแฉะ​  ประโยชน์​  คือ​  ปลูกเพื่อการค้า​  นำมาประกอบอาหาร​  พวกลวก​  ผัด​ หรือใส่ก๋วยเตี๋ยว​  ใช้สำหรับเป็นพรรณไม้นำประดับตู้ปลา​ ใช้เลี้ยงสัตว์ได้​หรือเป็นสมุนไพร​  เช่น​  ลำต้นและใบ​  ช่วยบำรุงสายตา​  ขับสารพิษ​  บำรุงเลือด​  บำรุงประสาท​  บำรุงผิวพรรณ​  ต้านอนุมูลอิสระ​  เป็นต้น

57.​ ดอกบลูซัลเวีย  ( Blue​ Salvis)​


      เป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดเล็ก​  ลำต้นตั้งตรง​  มีทั้วพันธุ์สูงและพันธุ์เตี้ย​  ลำต้นและใบมีขนละเอียดปกคลุม​  เป็นพืชในวงศ์​ Lamiaceae  มีถิ่นกำเนิดในบราซิลตอนใต้​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม​ รูปไข่หรือหัวใจ​  ปลายใบเรียวแหลมโคนใบมนหรือเว้า​ ขอบใบจักฟันเลื่อย​  ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม​  บริเวณเส้นใบเป็นร่อง​  ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน​  ก้านใบสั้น​  ใบประดับรูปไข่ถึงรูปใบหอกกลับ​  โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก​ 4​ แฉก​  ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง​  มีหลายสี  เช่น​  สีม่วง​  สีชมพู​  สีแดง​ สีส้ม​ และอื่นๆ​  


      ผลแห้งแก่ไม่แตก​  รูปรี  เปลือกแข็งสีน้ำตาลปนดำ​  เมล็ดมีขนาดเล็ก​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม​  เพื่อการค้า

58. ดอกผักตบชวา​ (Water​ hyacinth)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ผักปอด​ สวะ​ ผักโรค​ ผักป่อง​ ผักยะวา​ ผักอีโยก​ เป็นต้น​  เป็นพืชในสกุล​ Eichhornia วงศ์​ Pontederiaceae  มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำแอมะซอน​ ประเทศบราซิล​ ในทวีปอเมริกาใต้​  เป็นพืชน้ำล้มลุก​ อายุหลายฤดู​ สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ​  มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำมีไหล​ ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจรญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล​ ถ้าน้ำตื่นก็จะหยั่งรากลงดิน​  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม​  ก้านใบกลมอวบน้ำตรงกลางพองออกภายในเป็นช่องอากาศคล้ายฟองน้ำ​ช่วยให้ลอยน้ำได้​   ดอกเกิดเป็นช่อที่ปลายยอดมีดอกย่อยประมาณ​ 3-25​ ดอก​ สีม่วงอ่อน​  มีกลีบดอก​ 6​ กลีบ​  กบีบบนสุดขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่นๆ​  และมีจุดเหลืองที่กลางกลีบ​  ขยายพันธุ์โดยการแยกต้นอ่อนที่ปลายไหลไปปลูก​  ประโยชน์​  ดอกอ่อนและก้านใบอ่อนกินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือแกงส้ม​  ใช้เป็นอาหารสัตว์​  ทำปุ๋ยหมัก​ ทำเครื่องจักสานจากผักตบชวาได้​ เป็นสมุนไพร​  ใช้แก้พิษภายในร่างกายและขับลม​  ใช้ทาหรือพอกแก้แผลอักเสบ​  เป็นต้น

59. ดอกลูกปืนใหญ่​ (Cannonball  tree)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  ดอกสาละ​  เป็นพืชในวงศ์​ Lecythidaceae สกุล​ Couroupita  มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้​  ในประเทศโคลัมเบีย​ เปรู​ บราซิล​ และประเทศใกล้เคียง​  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่​  เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่​ หนาทึบเปลือกสีน้ำตาลแกมเทา​ แตกเป็นร่องและสะเก็ด​  ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง​  รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่​ ปลายใบแหลม​ โคนใบสอบหรือมน  ขอบใบจักตื้นใบหนา​  ดอกสีชมพูเหลืองหรือแดง​  ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู​  มีกลิ่นหอมมาก​  ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น​  ปลายช่อโน้มลงกลีบดอกหนา​ กลางดอกนูนสีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง​  เกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมากทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ​  ผลแห้งทรงกลมใหญ่เปลือกแข็ง​  สีน้ำตาลปนแดง​  ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมากรูปไข่​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​   ประโยชน์​  ปลูกประดับตามวัดวาอารามหรือสถานทีาต่างๆ​  เป็นไม้มงคลในพระพุทธศาสนา​ เมล็ดมีน้ำมันนำมาประกอบอาหารได้​  เช่น​  ทำเนย​  เป็นสมุนไพร​  ผลใช้แก้โรคท้องเสีย​ ท้องร่วง​  ยางเป็นยาสมานแผล​ ยาห้ามเลือด​  ใช้แก้โรคผิวหนังตุ่มพุพอง​  เป็นต้น

60. ดอกบัวสาย​ (Red​ indian​ water​ lily)​


     มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ​ ว่า​ บัวสายขาว​  บัวสายแดง​  บัวสายสีชมพู​  รัตนอุบล​  สัตตบรรณ​  เศวตอุบล​  เป็นต้น​  เป็นพืชน้ำอายุหลายปี​  อยู่ในวงศ์​  Nymphaeaceae  เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย​ มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน​  ต้นไม่โผล่เหนือน้ำ​ จัดอยู่ในกลุ่มอุบลชาติ​  ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าสั้นๆ​  อยู่ใต้ดิน​  คล้ายหัวเผือก​ ใบเดี่ยวเรียงสลับ​  ใบรูปไข่ค่อนข้างกลม​  ฐานใบหยักเว้าลึก​  ขอบใบจัดเป็นฟันเลื่อยใหญ่​ หูใบเปิดผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน​  ใบแก่มีสีเขียว​  ใบอ่อนมีสีแดงเลือดหมู​ ผิวใบด้านล่างถ้าเป็นใบแก่จะมีสีน้ำตาลมีขนนุ่มๆ​ ใบอ่อนมีสีม่วง​ เส้นใบใหญ่นูน​  ก้านใบสีน้ำตาลยาวเท่าระดับน้ำที่ส่งแผ่นใบขึ้นลอยเรียงเป็นวงที่ผิวน้ำ​  ดอกมีสีม่วงแดง​  สีขาว​  สีชมพู​ ออกเป็นดอกเดี่ยวจากเหง้า​ ก้านดอกสีน้ำตาลอวบกลมส่งขึ้นลอยที่ผิวน้ำ​  ดอกรูปครึ่งวงกลมถึงค่อนข้างกลม​ กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น​ เมล็ดเป็นทรงกลมจำนวนมาก​  ผลสดค่อนข้างกลม​ เรียก​ "โตนด"  มีเนื้อ​  มีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย​  ซึ่งรวมถึงไทยด้วย  ขยายพันธุ์ด้วยหน่อและเมล็ด​  ประโยชน์​  เป็นไม้ประดับ​  บริโภค​  เป็นสมุนไพร​  เครื่องสำอางประทินกลิ่น​  เป็นต้น

61. ดอกชมพู่​ (Rose​  Apple)​


      เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง​  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่พุ่มทรงทึบ​ เป็นพืชในวงศ์​ Myrtaceae มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและแพร่กระจายในเขตร้อนชื้นต่างๆ​ โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​ รวมถึงไทยด้วย  ลำต้นมีความสูงประมาณ​ 5-20 เมตร​  เปลือกลำต้นเรียบหรือขรุขระ​ มีสีน้ำตาลหรือเทา​  มักแตกกิ่งก้าน​สาขาบริเวณใกล้โคนต้น​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบตรงกันข้าม​ ใบหนาผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม​  และมักเจือด้วยสีแดงหรือม่วง​  ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ​ สีดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์อาจจะเป็นสีขาว​ สีเหลือง​ สีชมพู​ หรือสีแดง​ ชั้นกลีบดอกมี​ 4-5 กลีบ​ เมื่อดอกบานชั้นกลีบดอกจะหลุดร่วงเป็นแผงคล้ายหมาก​  ผลมีลักษณะทรงรีคล้ายระฆัง​ ที่ปลายผลมีชั้นของกลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ตลอด​ เนื้อ​ สี​ รูปร่าง​ ขนาด​ และรสชาติแตกต่างกันตามพันธุ์​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  การตอนกิ่ง​ การทาบกิ่ง​ และการเสียบยอด​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นผลไม้รับประทาน​  เพื่อการค้า​  ใช้ทำเป็นเครื่องดื่มต่างๆ​ ได้​  เป็นสมุนไพร​  ช่วยบำรุงผิวพรรณ​  ชลอความชรา​  แก้เลือดออกตามไรฟัน​  ป้องกันหวัด​ แก้ไข้​  บำรุงกระดูก​ แก้ท้องเสีย​ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด​  เป็นต้น

62.​ ดอกสะแบง​ (Hairy  keruing)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ตะแบง​ ตาด​ เหียง​ คร้าด​ สะละอองโว​ เหียงพลวง​ ซาด​ เหียงโยน​ ยางกราด​ เห่ง  กุง​ เกาะสะเตียว​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Dipterocarpaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่​  ผลัดใบเรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม​ ลำต้นเปลาตรงเปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทา​ แตกสะเก็ดและเป็นร่องลึกตามยาว​  ใบเดี่ยวเรียงสลับ​ ใบรูปไข่​ ปลายแหลม​ โคนกว้างหรือหยักเว้าเข้าผิว​ ใบมีขนสากสีเทาทั้ง​ 2​ ด้าน​ แผ่นใบหนา​ ขอบใบมีขนสั้นนุ่ม​  ดอกสีชมพูออกรวมเป็นช่อสั้นๆ​ ตามซอกใบ​ มีรูปเหมือนกัวหัน​  เป็นช่อเชิงลด​  ผลแห้งมีแบบมีปีกค่อนข้างกลม​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  พบกระจายพันธุ์อยู่ตามป่าเต็งรัง​  ประโยชน์​ ทำไต้​ ทาไม้​ ใช้ยาเรือ​ ทำเป็นไม้ประดับแห้งสีแดงอยู่ได้นานถึง​ 1​ ปี​  ทำสิ่งปลูกสร้าง​  เป็นสมุนไพร​ น้ำมันใช้ทาแผลภายนอก​  เปลือกต้มกับน้ำแล้วใช้ทาถูนวดขณะร้อนๆ​ ตามข้อแก้ปวด​  เปลือกต้นเป็นยาแก้ปิด​  ดอกสามารถรับประทานได้​  ใบแกใช้ห่ออาหาร​ เป็นต้น

63. ดอกบานชื่นหนู​ (Narrowleaf​  Zinnia)​


     บานชื่นหนู​ มีชื่อเรียกอื่นๆ​ ว่า​  กระดุมเงิน​  กระดุมแสด​  เป็นไม้ล้มลุกอายุสั้น​  ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด​  มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน​  กลีบดอกวงนอกรูปไข่แกมรูปขอบขนาน​  สีขาวและสีเหลือง​ กลีบดอกวงในรูปหลอดสีส้มหรือสีน้ำตาล​  ออกดอกดก  ใบเป็นใบเดี๋ยว​  ใบรูปแถบหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน​  ปลายใบแหลมโคนใบมน​  ผิวใบมีขนยาวก้านใบสั้น


     เป็นพืชในวงศ์​  Asteraceae มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและตอนบนของอเมริกาใต้​   มีผลแห้ง​  เมล็ดล่อนปลายมีขน​  ลำต้นมีสีน้ำตาลแดงมีขนปกคลุม การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์คือปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ ประดับสวน​  ปลูกเป็นไม้กระถางดอกสีสันสวยงาม​  เป็นต้น

64. ดอกพีทูเนีย​ (Petunia)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ พิทูเนีย  เป็นไม้ในวงศ์​ Solanceae  มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอเมริกาใต้​ เช่น​ บราซิล​ อาร์เจนติน่า​  เป็นไม้ดอกหลายฤดู​  ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน​ มีพุ่มเตี้ยค่อนข้างเลื้อย​  ลำต้นมีขนาดเล็กและเป็นเหลี่ยม​  ใบคล้ายใบยาสูบ​ ลักษณะรูปไข่ปลายแหลม​  ขอบเรียบทั้งหน้าและหลังใบมีขนอยู่ทั่วไป​  ดอกเป็นดอกเดี๋ยว​ รูปร่างเป็นกรวย​ คอดอกยาว​ กลีบดอกและกลีบรอง​ มี​ 5​ แฉก​ มีเกสรตัวผู้​ 5​ อัน​ ดอกมีทั้งชนิดดอกชั้นเดียวและชนิดดอกซ้อน​  ดอกออกที่ยอดตามส่วนข้างของลำต้น​  มีหลายสี​ เช่น​ สีขาว​ สีเหลือง​ สีส้ม​ สีแดง​ สีชมพู​ สีม่วง​ สีน้ำเงิน​ สีม่วงบานเย็น​  เป็นต้น​  เมล็ดมีลักษณะกลม​ บรรจุอยู่ในฝัก​  ฝักละประมาณ​ 100-300 เมล็ด​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด​และการปักชำ​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  ปลูดในกระถาง​ หรือลงแปลงในสวน​  ดอกมีหลายสีจึงสามารถนำมาใช้ฟอกย้อมผ้าได้​  ใช้ปรับแต่งสีอาหารหรือขนม​  ปลูกเพื่อการค้า​  เป็นต้น

65. ดอกซัลเวีย  (Scarlet  sage)​


      เป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มขนาดเล็ก​   เป็นพืชในวงศ์​ Labiatae  ลำต้นตั้งตรง​  ลำต้นและใบมีขนละเอียดปกคลุม​  ใบมีรูปคล้ายหัวใจสีเขียวเข้มเป็นมัน​  ดอกจะออกเป็นช่อชูตั้งเหนือลำต้น​  ดอกจะดกและแตกเรียวกันขึ้นมาตามช่อก้านดอก​  มีหลายสี  เช่น​ สีส้ม​ สีปูน​ สีแดง​ สีม่วง​ สีครีม​ และสีขาว​ เป็นต้น​  บางพันธุ์มีแถบสีขาวบนพื้นกลีบดอกสีแดง​  ส่วนที่เห็นเป็นสีดอกคือดอกจริง และกลีบประดับเมื่อดอกจริงร่วงไปแล้วก็ยังเห็นกลีบประดับสีแดงสดซึ่งจะซีดลงเมื่อบานไปนานๆ​ ผลแห้งแก่ไม่แตก​  รูปรีเปลือกแข็งสีน้ำตาลปนดำ​  เมล็ดมีขนาดเล็ก​  มีถิ่นกำเนิดในบราซิลตอนใต้​   ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำ​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เพื่อการค้า​  เป็นต้น

66.​ ดอกผักกระฉูด​ (Water​ Sensitive Plant)​


     ผักกระฉูด​ มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ กระเฉดโคก​ แห้วระบาย​  กาเสดโคก​  เป็นต้น​  ซึ่งเปรียบเสมือนพี่น้องฝาแฝดกับผักกระเฉดเพราะเหมือนกันมากจนแทบแยกไม่ออก  เพียงแต่ผักกระฉูดจะไม่มีนมหรือฟองน้ำขาวๆ​ หุ้มที่ลำต้นเหมือนผักกระเฉด​ และผักกระเฉดจะมีความกรอบมากกว่าเวลาทาน​


    เป็นพืชน้ำล้มลุกที่เกิดบนดินได้​  ลำต้นทอดขนานแตกแขนงไปบนผิวน้ำและผิวดิน​  เป็นพืชในวงศ์​  Minosaceae​ สกุล​ Neptunia  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด​ ลักษณะดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ​  ดอกอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย​  ผลเป็นฝักแบนภายในมีหลายเมล็ด​  ดอกออกตลอดปี​  มีถิ่นกำเนิดในพม่า​  ภูมิภาคอินโดจีน​ ชวา​  และติมอร์​  ในไทยก็พบได้ทุกภาค​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น​  ประโยชน์​  มีสารต้านอนุมูลอิสระ​  รับประทานเป็นเครื่องเคีนงกับน้ำพริก​  ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือผักกระเฉดทุกอย่าง​  เช่น​ ทำแกงส้ม​ หรือยำก็ได้​  เป็นต้น

67. ดอกกระดุมทองเลื้อย​ (Creeping​  daisy)​


     มีชื่ออื่นๆ​  ว่า​ เบญจมาศเครือ​  กระดุมทอง​  เป็นต้น​  เป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดเล็ก​  มีอายุสั้นประมาณ​ 2​ ปี  ตามลำต้นมีขนสากมือ​  ใบมีลักษณะใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม​  รูปรีกว้างรูปไข่ปลายใบแหลม​ โคนใบสอบขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน​ ใบมีขนสากทั้งสองด้าน​  ก้านใบสั้นมีครีบมีขนตามก้านใบ​  ดอกมีสีเหลืองเล็ก​ มีกลิ่นเหม็น​  ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง​  โคนช่อดอกมีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน​ 2​ ชั้น​  กลีบดอกรูปรี  กระดุมทองมีผลซึ่งเป็นผลแห้งแตก​  รูปสามเหลี่ยมยอดแบน​  เมล็ดเล็กสีดำปนมัน​ เป็นพืชโตเร็วและชอบดินชื้นแฉะ​  เป็นพืชในวงศ์​  Asteraceae​  สกุล​ Sphagneticola  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้​  พบมากในแถบประเทศอบอุ่นและเขตร้อนชื้น​  รวมถึงประเทศไทยด้วย


     ขยายพันธุ์โดยการปักชำ​  ประโยชน์​  คือ​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  ปลูกเพื่อคลุมดิน​  ดอกและลำต้นสามารถใช้เป็นสมุนไพรหรือประโยชน์อื่นๆ​  อาทิ​  สีผสมอาหารและย้อมผ้า​ เป็นต้น

68. ดอกผักตำลึง​  (Ivy  Gourd)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ผักแดง​ แคเด๊าะ​ สี่บาท​ ผักตำนิน  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Cucurbitaceae สกุล​ Coccinia  มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก​  มีสีเขียวเข้ม​  ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยเนื้อแข็ง​  ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะ​  3​ แฉก​  หรือ​ 5​ แฉก​  โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ​ มีมือเกาะยื่นออกมาจากข้อ  ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่​  มีลักษณะเป็นรูประฆัง​  กลีบดอกสีขาว​ แยกเพศอยู่คนละต้น​  ออกตรงซอกใบ​  ผลเป็นวงรีทรงยาวสีเขียวอ่อนเมื่อแก่จัดจะเป็นสีแดง​


      การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดหรือเถาแก่ตัดชำ​  ประโยชน์​  ใช้ประกอบอาหารเป็นเมนูต่างๆ​  เช่น​ แกงจืด​ ยอดลวกเป็นผักทานกับน้ำพริก​  ผลนำมาแกงเผ็ด​ แกงคั่ว​ แกงเขียวหวาน​  เป็นสมุนไพร​  ดอกช่วยทำให้หายจากอาการคันได้​ รากใช้แก้อาการอาเจียน​ ตาฝ้า​ น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด​  ใบใช้แก้ไข้ตัวร้อน​  ตาแดง​ ตาเจ็บ​ เป็นต้น

69. ดอกแวววิเชียร​ (Angelonia goyazensis)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ เทียนญี่ปุ่น​  แองเจิ้ล​  เป็นต้น​  แวววิเชียรเป็นฟอร์เก็ตมีน็อตของคนไทย​  อาจนับได้ว่าเป็นดอก​ "อย่าลืมฉัน"  แบบไทยๆ​  เป็นไม้เนื้ออ่อนล้มลุก​  ลำต้นสูงประมาณ​ 40-60 ซม.​ ใบมีขนละเอียดปกคลุมและมียางเหนียวๆ​ ติดอยู่  เมื่อสัมผัสจะติดมือ​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงยาวออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อต้น​  ลักษณะเป็นรูปหอกขอบขนานปลายแหลมสีเขียว​  ดอกเป็นดอกเดี่ยวแต่ออกติดๆ​ กันตามข้อต้นหรือง่ามใบ​  มักออกดอกพร้อมๆ​ กันตลอดต้นไปจนถึงส่วนยอดและออกตลอดปี​  ดอกเป็นรูปกรวยเล็ก​  โค้งเล็กน้อย​  ปลายดอกแยกออกเป็น​ 5​ กลีบ​  กลีบดอกมีสีม่วงแก่​  ม่วงอ่อนและสีขาว​  เป็นต้น​  มีกลิ่นเฉพาะบางคนก็ว่าหอมบางคนก็ว่าเหม็น​  เป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้ดีในดินทั่วไปแทบทุกชนิด​  เป็นพืชในวงศ์​  Scruphulariaceae  ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง​  เพาะเมล็ดหรือแยกกอ  มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมจากเขตเอเชียเหนือ​ แถบเทือดเขาหิมาลัย​  มีกลักฐานว่านำเข้ามาในไทยครั้งแรกโดยแหม่ม​  คอลลินส์​  ถูกนำเข้ามาจากเมืองมัณฑะเลย์​  สหภาพพม่า​  เดิมแวววิเชียรมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า​ ต้นฟอร์เก็ตมีน็อต​ เข้าใจว่าน่าจะเรียกตามแหม่ม  คอลลินส์​  ผู้นำเข้ามาคนแรก​  เป็นดอกไม้ให้ความหมายอาลัยอาวรณ์​  ประโยชน์​  คือ​  ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมทางน้ำ​  ขอบบ่อ​ เป็นกระถาง​  สวนหย่อม​  เป็นยาบำรุงร่างกายโดยเฉพาะผู้หญิง​  เป็นต้น

70. ดอกเสาวรส​ (Passion​ fruit)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่ากะทกรกฝรั่ง​ กะทกรกสีดา​ กะทกรกยักษ์​ Granadilla  Grenadille  Buah​ negeri  Pasi  Konyal  Buah​ susu​  Markisa   Pasionnaria  Maraflora   Linmangkon  Chum bap   เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Passifloraceae  สกุล​ Passiflora  มีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายในทวีปอเมริกาใต้​  ประเทศบราซิล​ ปารากวัย​ และอาร์เจนตินา​ ปัจจุบันจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งของออสเตรเลีย​ อเมริกาใต้​ สหรัฐอเมริกาและบราซิล​  เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่​ มีอายุประมาณ​ 4-5 ปี​ มีลำต้นเป็นเถาคล้ายกับกะทกรกไทย​ เถาแตกกิ่งและมีหนาทขนาดเล็กขึ้นปกคลุมห่างๆ​ เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันบนเถา​ แผ่นใบสีเขียวแยกเป็น​ 3​ แฉก​ ปลายแฉกแหลม​ แผ่นใบค่อนข้างหนาสากมือและกรอบ​  ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว​แทงออกบริเวณซอกใบตามเถา​  ประกอบด้วนกลีบเลี้ยงด้านนอกกลีบเลี้ยงมีสีเขียว​  ด้านในมีสีขาวและกลีบดอกสีครีมอมม่วง​ 5​ กลีบ​ กลีบดอกเรียงสลับเป็น​ 2​ ชั้น​ ถัดมาด้านในมีฝอยเป็นเส้นล้อมเป็นวงกลมจำนวนมาก​ โคนฝอยมีสีม่วงปลายมีสีขาว​  ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้​ 5​ อัน​ ส่วนเกสรตัวเมียมีปลายแยกเป็น​ 3​ แฉก​ เมื่อบานจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ​ ดอกเสาวรสเป็นดอกสมบูรณ์เพศสามารถผสมเกสรด้วยตนเองได้ดี​  ผลเป็นผลเดี่ยวมีรูปทรงกลมหรือรูปไข่และอวบน้ำ​ สีเปลือกแตกต่างกันตามสายพันธุ์​ อาทิ​ พันธุ์สีม่วงจะมีเปลือกสีม่วงเข้ม​ พันธุ์สีเหลืองจะมีเปลือกสีเหลืองสด​ เปลือกผลทุกพันธุ์ค่อนข้างหนาและเป็นมัน​ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก​ เมล็ดมีรูปไข่มีถุงคัพภะที่เป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองอมส้มและฉ่ำน้ำหุ้มเมล็ดไว้​  ส่วนเมล็ดด้านในสีดำเยื่อหุ้มจะให้รสเปรี้ยวแต่บางพันธุ์จะมีรสหวานมากกว่าเปรี้ยวและมีกลิ่นหอม​   ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด​ ตอนกิ่ง​ หรือการปักชำ​   ประโยชน์​  ปั่นเป็นน้ำผลไม้ดื่ม​ รับประทานสด​ ทำไวน์​  สกัดสารสำหรับเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์​ เป็นสมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ​ ขับพยาธิ​ แก้ท้องเสีย​ ช่วยลดความดัน​  เป็นต้น

71. ดอกหูกวาง​ (Bengal almond)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  โคน​ ตาปัง​ หลุมปัง​  คัดมือ​ ตัดมือ​ ตาแปห์  เป็นต้น​ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตราด​  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่​  มีเรือนยอดหนาแน่น​  แตกกิ่งก้านแผ่ออกในแนวราบเป็นชั้นๆ​  คล้ายฉัตร​  ลำต้นเปลาตรงต้นที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่จะเป็นพูพอนที่โคนต้น​ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาเกือบเรียบ​  แตกเป็นร่องแบบตื้นๆ​ ตามแนวนอนและแนวตั้ง​ และลอกออกเป็นสะเก็ดเล็กๆ​ ทั่วไป​  กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลส่วนเนื้อไม้เป็นสีแดง​  ใบเป็นใบเดี่ยวลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ​ ออกดอกเป็นช่อยาวแบบติดดอกสลับโดยจะออกตามซอกใบลักษณะเป็นแท่งยาว​  มีดอกย่อยเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน​  ดอกมีขนาดเล็กและไม่มีกลิ่นหอม​  ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ในช่อเดียวกัน​  ผลเป็นผลเดี่ยวในแต่ละผลมีเมล็ด​ 1​ เมล็ด​  ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี​ค่อนข้างแบนเล็กน้อย​ ผลแข็ง​  ผลด้านข้างเป็นแผ่นหรือเป็นสันบางๆ​ นูนออกรอบผล​  ผลอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียวและมีกลิ่นหอม​  ผิวผลเรียบ​  ผลเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ​  เมล็ดเป็นรูปไข่หรือรีแบนป้อมเล็กน้อยคล้ายกับผล​ 


     เป็นไม้ในวงศ์​สมอ​  Combretaceae  สกุล​  Terminalia​  ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด​  มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย​ เอเชียอาคเนย์​  ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา​  เป็นยาแก้ไข้​  ใบช่วยขับเหงื่อ​  ช่วยแก้ต่อมทอมซิลอักเสบ​  ยาถ่ายพยาธิ​  แก้ท้องร่วง​  แก้บิด​  เป็นต้น

72. ดอกหงอนไก่ไทย​ (Wool flower)​


     มีชื่ออื่นๆ​  ว่า​ ดอกด้าย​ หงอนไก่ฟ้า​  หงอนไก่ดอกกลวง​  หงอนไก่ดง​  พ​อคอที​  เป็นต้น​  เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว​  ลำต้นและกิ่งที่แตกออกจะตั้งตรงขึ้น​  ลำต้นฉ่ำน้ำ​  มีร่องตามยาวเปลือกลำต้นมีสีเขียวถึงม่วงแดง​  ใบเป็นใบเดี่ยว​ เรียงสลับรูปหอกเรียวยาว​ ใบสีเขียวและแดงอมม่วง​ ใบตอนล่างมีขนาดใหญ่กว่าใบช่วงบน​ ออกดอกเป็นช่อ​  ดอกย่อยขนาดเล็ก​จำนวนมากอยู่ติดกับแกนช่อดอกหนาแน่น​ ริ้วประดับติดทนนาน​  สีขาวหรือสีชมพู​  ปลายช่อแหลม​  ดอกจะออกตามปลายกิ่งและที่ซอกใบ​  กลีบดอกมีสีขาวปลายแต้มสีชมพูอยู่ติดกันเป็นกระจุก​  ผลแห้งแตกได้รูปไข่กลมรี​  มีเมล็ดจำนวนมากกลมแบบสีดำเป็นมันแข็งค้ำด้านหนึ่งบุ๋มลง​ เป็นพืชในสกุล​  Celosia  วงศ์​  Amaranthaceae  มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน​ ภายหลังได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลก​  ประโยชน์​  ปลูกประดับทั่วไป​  ในตำรายาไทย​  ดอกแก้บิด​  ห้ามเลือด​  แก้ตกขาว​  แก้ปวดศรีษะ​  ใบเป็นยาแก้ริดสีดวงทวารมีเลือด​  ตาแดง​  เมล็ดเป็นยาเย็น​ รากบำรุง​ธาตุ​  แก้หืด​  เป็นต้น

73. ดอกรักใหญ่​ (Vanish tree)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  รักเทศ​  มะเรียะ​ รัก​ รักหลวง​ น้ำเกลี้ยง​  รักซู้สู่​  ฮัก​ ฮักหลวง​  เป็นต้น​  เป็นต้นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่​  มีความสูงของต้นประมาณ​ 15-25​ เมตร​  เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างกลม​ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา​  เปลือกแตกเป็นร่องตามยาว​ ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีชมพูอ่อน​  กิ่งอ่อนและยอดปกคลุมไปด้วยขนยาวสีขาว​  ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยงหรือมีขนสั้น​  ใบคล้ายใบมะม่วงหิมพานต์มักมีแมลงมาไข่ไว้ตามใบทำให้เกิดตุ่มกลมๆ​  ตามแผ่นใบ​  ใบรักใหญ่เป็นใบเดี๋ยว​ ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงโดยจะออกตามปลายกิ่งหรือใกล้กับปลายกิ่งและซอกใบ​  มักทิ้งใบก่อนจะออกดอก​  ดอกจะเริ่มบานจากสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดงสด​  จะออกดอกเป็นกลุ่มหนาแน่นตามซอกใบ​ช่วงบน​ มีขนสั้นและนุ่มสีน้ำตาลปกคลุมอยู่​  ดอกย่อยมีจำนวนเยอะมาก​  ดอกตูมจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานมีขนอยู่ประปราย​  ที่ปลายมีขนเป็นกระจุก​ กลีบดอกเป็นสีขาวมีแถบสีเหลืองแกมเขียวตรงกลางปลายกลีบแดงแหลม​ หลังกลีบมีขน​ ในดอกที่แก่แล้วกลีบเลี้ยงจะมีรูปร่างคล้ายหมวก​ ผลมีลักษณะค่อนข้าวกลมผนังชั้นในแข็งมีส่วนของกลีบดอกที่ขยายเป็นปีกที่โคนก้านผลสีแดง​  มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย​  บังกลาเทศ​ พม่า​ ลาว​ กัมพูชา​ จีนและไทย   ประโยชน์​  คือ​  น้ำยางสามารถนำมาทำน้ำมันเคลือบเงาได้​  ใช้ทำเครื่องเขินและทาผ้า​  เปลือกต้นใช้เข้ายาบำรุงกำลัง​  ช่วยแก้มะเร็ง​  เมล็ดใช้เป็นยาแก้ปากคอเปื่อย​  ช่วยย่อยอาหาร​  เป็นต้น​  พิษของรักใหญ่​  คือ​  ขนจากใบแก่จะทำให้เกิดอาการคัน​  น้ำยางสดมีสาร​  Phenol​ ทำให้ผิวหนังอักเสบและมีอาการคันมาก​  เป็นต้น

74. ดอกรัก​ (Crown  flower)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​ รักเขา​  รักขาว​ รักซ้อน​  ปอเถื่อน​ ป่านเถื่อน​ รักดอกขาว​  รักดอกม่วง​ รัก​ รักดอก​รักร้อยมาลัย​ รักแดง​ เป็นต้น​  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก​  วงศ์​ Apocynaceae สกุล​ Calotropis  ลำต้นสูงประมาณ​ 1.5-3 เมตร​ ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนมตามกิ่งมีขน​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปรีแกนขอบขนาน​ปลายแหลมโคนเว้า​  เนื้อใบหนาใต้ใบมีขนนุ่มก้านสั้น​  ดอกมีสีม่วงหรือขาว​ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่งโคนเชื่อมติดกัน​  กลีบเลี้ยง​ 5​ กลีบ​ มีรยางค์คล้ายมงกุฏ 5​ สัน​ มีเกสรตัวผู้​ 5​ อัน​ ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย​ ผลเป็นฝักคู่รูปรีปลายแหลม​ เมื่อแก่แตกและปล่อยเมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก​  ที่มีขนขาวเป็นพู่กระจุกอยู่ตรงกลางปลายด้านหนึ่งให้ปลิวไปตามลม​


     เป็นพืชพื้นเมืองของ​อินโดนีเซีย​ ฟิลิปปินส์​ ไทย​ มาเลเซีย​ ศรีลังกา​ อินเดียและจีน​ เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิม​ คือ​ ประเทศอินเดียหรืออาจรวมถึงพื้นที่บางส่วนของจีน​ ทิเบต​ และอิหร่านด้วย​  ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการปักชำ​  ประโยชน์​ เป็นไม้ประดับ​  นำมาร้อยมาลัย เป็นไม้มงคล​ เป็นสมุนไพร​ ดอกรักษาอาการหอบหืด​  อาการไอและหวัด​ เจริญอาหาร​ เปลือกและรากใช้รักษาโรคบิด​ ขับเสมหะ​ ขับเหงื่อ​ ขับน้ำเหลืองเสีย​ และทำให้อาเจียน​ ยางรักษากลากเกลื้อน  เป็นต้น

75. ดอกผักบุ้งทะเล​ (Beach  morning​ glory)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  ผักบุ้งขน​  ผักบุ้งเล  ผักบุ้งต้น​  ละบูเลาห์​  หม่าอานเถิง​  เป็นต้น​   เป็นไม้ล้มลุกเถาเลื้อย​  ลำต้นทอดไปตามยาวบนพื้นดิน​  ผิวเถาเรียบสีเขียวและม่วง​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ​  ใบเป็นรูปหัวใจ​  รูปกลม​ รูปไข่หรือเกือกม้า​  ปลายเว้าเข้าหากัน​  ตามเถาและใบมียางสีขาว​  ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ​ ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ​ 2-6  ดอก​ แต่จะทยอยบานทีละดอกเท่านั้น​   ลักษณะดอกเป็นรูปปากแตร​  มีสีม่วงอมชมพู​  ม่วงอมแดง​  ชมพูหรือม่วง​  ยางของต้นหรือใบผักบุ้งทะเลมีพิษ​  ถ้ารับประทานจะเกิดอาการเมา​  คลื่นไส้​  วิงเวียน​และเสียชีวิตได้​  ผลมีรูปไข่ผิวเรียบ​  เมื่อแห้งจะแตกตัวภายในมีเมล็ดกลมสีเหลืองอยู่ข้างในโดยมีขนสีน้ำตาลหุ้มเอาไว้


     มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  และไทย​  เป็นพืชในสกุล​ Ipomoea  วงศ์​  Convolvulaceae ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตัดลำต้นปักชำ​  เป็นพรรณไม้กลางแจ้งทนต่อความแห้งแล้งได้ดี​  มักขึ้นตามหาดทรายหรือริมทะเล​  ประโยชน์ผักบุ้งทะเลมีสารที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนหรือแอนตี้-ฮีสตามีน​  ยับยั้งพิษแมงกะพรุนและแมลงกัดต่อยได้  โดยใช้ใบและเถาล้างให้สะอาดแล้วเอาไปโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาในบริเวณที่เกิดอาการบวมแดง​  รากแก้อาการปวดฟัน​ เมล็ดเป็นยาถ่าย​  ยาระบาย​  ต้นช่วยแก้อาการเป็นหวัด​  เป็นต้น
     
76. ดอกคุณนายตื่นสาย​ (Common purslane)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่ๆ​ ว่า​ ผักเบี้ยดอกเหลือง​ ผักเบี้ยใหญ่​ ผักตาโค้ง​ และผักอีหลู  เป็นต้น​  เป็นพืชในสกุล​ Portulaca  วงศ์​ Portulaceceae เป็นพืชล้มลุกคลุมดิน​ อวบน้ำสีม่วงแดงแผ่ทอดเลื้อยไปตามดิน​ ใบเดี่ยวเรียงสลับใบรูปไข่กลับแกมรูปรีปลายใบแหลมโคนใบสอบ​ ขอบใบเรียบแผ่นใบอวบน้ำ​ ผิวใบด้านขนสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม​ บางพันธุ์มีขอบใบขลิบสีแดง​ ดอกสีชมพู​ สีขาว​ สีแดง​ สีเหลือง​ สีส้ม​ ออกเป็นดอกเดี่ยว​ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง​ กลีบดอกชั้นเดียวบอบบาง​ ขอบกลีบดอกหยักเป็นคลื่น​ บานเมื่อได้รับแสงแดดตอนเช้า​ ผลแห้งแตกมีเมล็ดจำนวนมาก​ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง​ มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศบลาซิล  ประโยชน์​ เป็นไม้ประดับ​  ปลูกคลุมดิน​ นำมาสกัดเป็นสีน้อมผ้าหรือนำมาต้มย้อมผ้าได้​  นำมาสกัดเป็นสารสีสำหรับระบายสี​ ปั่นทำเป็นน้ำสมุนไพร​ ตากแห้งและบดสำหรับชงเป็นชาดื่ม​ เป็นต้น

77. ดอกโมก​ (Moke)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ โมกบ้าน​  โมกลา​  ปิดจงวา  โมกดอกหอม​  โมกกอ  โมกซ้อน​ หลักป่า​ เป็นต้น​  เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง​  สูงประมาณ​  1-3 เมตร​  เรือนยอดแผ่กว้าง​  เปลือกต้นเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีจุดเล็กๆ​ สีขาวประอยู่ทั่วไปแตกกิ่งต่ำใกล้ผิวดินเป็นลำต้นจำนวนมาก​  ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว​  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรี  ผิวใบสีเขียวแกมเหลือง​ ท้องใบมีขนนุ่ม​  ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง​  กลีบดอกสีขาว​  บริเวณกลางดอกสีเหลือง​ ดอกมีกลิ่นหอม​  ผลเป็นฝักคู่​ เป็นพืชในวงศ์​ Apocynaceae  สกุล​ Wrightia มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเชียเขตร้อน​  ในประเทศไทยมักพบอยู่ตามธรรมชาติในป่าดงดิบและป่าที่มีความชื้น​  คนโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขบริสุทธิ์​  สดใส​  การขยายพันธุ์ด้วยการตอนการเพาะเมล็ด​  การปักชำ​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เปลือกใช้ต้มน้ำดื่มแก้บิด​ เจริญอาหาร​  ใบเป็นยาขับน้ำนม​  ช่วยระงับอาการปวดกล้ามเนื้อ​ ดอกเป็นยาถ่ายพยาธิ​  ยาระบาย​  ดอกนำไปสกัดกลิ่นหอมทำเป็นน้ำอบไทย​  หรือน้ำปรุุ​ง​  ยางใช้แก้พิษงูและแมลงกัดต่อย​  เป็นต้น

78. ดอกสาบแร้งสาบกา​ (Goat Weed)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​ หญ้าสาบแฮ้ง​ หญ้าสาบแร้ง​ เทียมแม่ฮ้าง​ ตับเสือเล็ก เซิ่งหงจี้​ เซ้งอั่งโซว  เป็นต้น​ จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน​ Asteraceae  หรือ​ Compositae จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง​  มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย​ ลำต้นมีลักษณะตรง​  แตกกิ่งก้านสาขา​ ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่​ เมื่อเด็ดขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว​ กิ่งก้านเป็นสีขาวอมม่วงเล็กน้อย​ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ​ แต่ส่วนยอดของใบจะเรียงสลับกัน​ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมมนรี​  ปลายใบแหลม​ โคนใบกลมมนหรือเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ​ ส่วนของใบเป็นจักฟันเลื่อย​ แผ่นใบเป็นสีเขียวและมีขนสั้นๆ​ อ่อนๆ​ ขึ้นปกคลุมอยู่​ ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน​  ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบและบริเวณส่วนยอดของลำต้นในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็ก​  และดอกย่อยอยู่อัดตัวกันแน่นเป็นจำนวนมาก​ ดอกเป็นสีฟ้า​ สีม่วงน้ำเงินหรือสีขาว​ กลีบดอกมีขนาดเล็กเป็นหลอดเส้นๆ​ ปลายแหลม​ หลังกลีบดอกมีขนเล็กน้อย​ ขนมีขนาดเล็กสีดำ​ ลักษณะของผลเป็นรูปคล้ายทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น​  ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด​ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด​ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน​ แต่ปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป​  ประโยชน์​ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้​  ช่วยขับเสมหะ​ เป็นยาแก้คอเจ็บ​ คออักเสบปวดบวม​ ต่อมทอมซิลอักเสบ​ เป็นต้น

79. ดอกคอร์เดีย (Cordia)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  หมันแดง​  เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก​  สูงประมาณ​ 3-10​ เมตร​ ผลัดใบยอดรูปไข่​ โปร่ง​ เปลืกต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเทา​ ทุกส่วนมีขนสากปกคลุม​ ​​ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน​  เป็นพืชในวงศ์​ Boraginaceae ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ​ รูปไข่​ โคนใบมนเว้าปลายใบแหลมขอบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย​ ผิวด้านบนสากด้านล่างเรียบ​  ส่วนดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง​ มีสีส้มหรือแดง​ ลักษณะคล้ายรูปกรวย​ มีผลทรงกลมถึงไข่​ มีเนื้อนุ่มกินได้​ สีเขียวเมื่อแก่เป็นสีขาว​ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​ ปักชำและตอนกิ่ง​ เจริญเติโตค่อนข้างเร็ว​ ปลูกได้ในดินทั่วไป​ แต่ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์​ ชอยแสงแดดเต็มวัน​ ชอบความชื้นปานกลาง​ ไม่ชอบน้ำขังและทนต่อทุกสภาพอากาศ​ ​ ประโยชน์​ ปลูกประดับ​ เป็นร่มเงา​ เป็นสมุนไพร​ ทุกส่วนของต้นคอร์เดียใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้​  โรคกระเพาะอาหารและหลอดลม​ ต้มน้ำดื่ม​ เมล็ดมีคุณสมบัติลดอาการระคายเคืองและลดไข้ได้ดี​ เป็นต้น

80. ดอกยี่เข่ง​ (Crape​ myrtle)​


     มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​ จีหมุ่ยอวย​  คำฮ่อ​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Lythraceae  มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น​   เป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่มขนาดใหญ่​   สูงประมาณ​ 3-7​ เมตร​  มีเปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลเป็นมัน​ มีสะเก็ดขาวลอกเป็นแผ่น​  ส่วนของผลยี่เข่งมีลักษณะเป็นผลแห้งแตก​ เปลือกแข็ง​ รูปถ้วย​ มีเมล็ดจำนวนมาก​  ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว​ ลักษณะใบคล้ายรูปไข่โคนใบจะมน​  ปลายใบแหลมขอบจะเรียบ​ ผิวใบจะมีขนสากมือเล็กน้อย​  ออกดอกเป็นช่อๆ​  ที่ปลายกิ่ง​  ส่วนล่างของดอกจะเป็นเส้นกลมเล็กๆ​  ส่วนบนจะบานแผ่ออกเป็นกลีบกลมขอบหยิกๆ​มีรอยย่นยับ​  มีกลีบประมาณ​ 6​ กลีบ​ มีเกสรกลางดอก​  ปลายเป็นตุ้มสีเหลืองสด​  ส่วนสีของดอกจะมีสีขาว​  สีชมพู​ สีม่วง​ สีชมพูเข้ม​คล้ายสีบานเย็นและสีแดง​   การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ​ ประโยชน์​  ปลูกเพื่อประดับ​  และเป็นสมุนไพร​ เปลือกใช้เป็นยาลดไข้ได้​  รากแก้อาการปวดฟัน​ แก้บิด​  ใบรักษาแผลสด​ ดอกช่วยแก้อาการตกเลือดหลังคลอดบุตร​  เป็นต้น

81. ดอกเล็บมือนาง​ (Rangoon  creeper)


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  ไท้หม่อง​ จะมั่ง​  จ๊ามั่ง​ มะจีมั่ง​ อะดอนิ่ง  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Combretaceae มีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์​  อินเดีย​  มาเลเซีย​  เขตกระจายพันธุ์​  แอฟริกา​ อนุทวีปอินเดีย​  เอเชียใต้​-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  เป็นไม้เลื้อยเถาใหญ่แข็งแรง​ เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง​  เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย​ ดินที่มีการระบายน้ำดี​  ดอกมีกลิ่นหอมมากในเวลากลางคืน​ ดอกมีลักษณะคล้ายพวกดอกเข็มคือมักมีก้านดอกยาว​  แต่ของดอกเข็มจะเป็นกรวยดอกไม่ใช่ก้านดอก​ เมื่อแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน​  เมื่อดอกแก่จัดจะกลายเป็นสีชมพูเข้มและสีแดง​  ในช่อหนึ่งจึงมีสีขาว​  สีชมพู​ สีแดง​  สอดสลับกันไป​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ทาบกิ่งและปักชำ​  ประโยชน์​  เป็นไม้ประดับ​  ทำซุ้มเลื้อย  เป็นสมุนไพร​ รากต้มน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ​  ใบตำเป็นยาทาแผลรักษาแผลและฝีได้เป็นอย่างดี​  ชาวกะเหรี่ยงนำผลตำให้ละเอียดผสมอาหารเลี้ยงวัวหรือหมูช่วยฆ่าพยาธิ​  เป็นต้น

82. ดอกพวงชมพู​ (Chain of​ love)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ พวงนาก​ ชมพูพวง​ หงอนนาก​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Polygonace  มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง​ พบมากในเม็กซิโก​  เขตกระจายพันธุ์ประเทศในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน​   เป็นพืชล้มลุกเถาเลื้อย​  ลำต้นหรือเถา​เป็นสีน้ำตาลเข้มขนาดค่อนข้างเล็ก​ มีมือจับ​ สามารถเลื้อยพาดพันสิ่งเกาะยึดได้ไกลประมาณ​ 6-12 เมตร​ ใบเป็นใบเดี่ยวออกดอกเรียงสลับทิศทางกันไปตามข้อต้น​ ใบสากสีเขียว​ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปหัวใจปลายใบแหลม​ โคนใบมนเว้าเข้าหากันจนชิด​ ขอบใบเรียบเกลี้ยงแลเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน​  ดอกออกเป็นช่อรวมกันเป็นกลุ่มตามง่ามกิ่งส่วนยอด​  มีทั้งสีขาวและสีชมพู​ แต่ส่วนใหญ่จะพบแต่สีชมพูมากกว่าดอกขนาดเล็กประมาณ​ 1​ ซม.​  ช่ออาจชูตั้งขึ้นหรือห้อยเป็นพวงระยับลง​  ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน​  ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยมมีกลีบรวมที่ขยายหุ้ม​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ประดับ​ ซุ้มทางเดิน​ ขึ้นซุ้มระแนง​ เป็นสมุนไพร​  รากและเถาใช้เป็นยากล่อมประสาทช่วยให้นอนหลับ​  ยอดอ่อนและช่อดอกเป็นผักลวกกินกับน้ำพริกหรือชุบแป้งทอด​ เป็นต้น

83. ดอกอัญชัน​ (Butterfly pea)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ แดงชัน​ เอื้องชัน​ เองชัญ​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Fabaceae  เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก​  มีเถาเล็กและอ่อน​  ลำต้นมีขนนุ่ม​  เลื้อยได้ไกลถึงประมาณ​ 7-8 เมตรใบค่อนข้างบางประกอบแบบขนนก​ เรียงตรงข้ามมีใบย่อยรูปไข่​  ปลายแหลม​ โคนใบมน​ ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม​  ดอกออกเดี่ยวๆ​ รูปทรงคล้ายหอยเชลล์หรือคล้ายดอกถั่ว​ มีฝักคล้ายถั่วฝักยาว​  ดอกออกเป็นคู่ตามซอกใบ​  กลีบดอก​ 5​ กลีบ​ ปลายเว้าเป็นแอ่ง​ ตรงกลางมีสีเหลืองมีทั้งดอกซ้อนและดอกลาสีน้ำเงินอมม่วง​  ปกติอัญชันมีดอก​ 2​ สี​ คือ​ สีน้ำเงินอมม่วงและสีขาว​ แต่ก็มีอีกชนิดหนึ่งเป็นอัญชันดอกสีน้ำเงินเข้มแต่กลีบดอกจะซ้อนกันหลายชั้นเรียกว่า​ อัญชันซ้อน​ 


      ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย​ ไทย​ มาเลเซีย​ เขตกระจายพันธุ์​ แอฟริกา​ ออสเตรเลีย​ อเมริกา​  ประโยชน์​  เป็นทั้งไม้ดอกและสมุนไพร​ ดอกใช้ปลูกผมทำให้ดกดำเงางาม​  คนสมัยก่อนนิยมใช้ดอกขยี้ที่หัวเด็ให้ผมดกหรือขยี้ที่คิ้วให้คิ้ว​ดก​  เป็นสมุนไพรแก้ปวดท้อง​ เมล็ดเป็นยาระบาย​ รากบำรุงตาแก้ตาฟาง​ ถูฟันแก้ปวดฟัน​ แก้ตาแฉะและปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ​  ทำเป็นน้ำอัญชันดื่มเพื่อความสดชื่น  เป็นต้น

84. ดอกกะทกรกป่า​ (Fetid  passion​flower)​


      มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ​ ว่า​  กะทกรก​  รุ้งนก​  ผักขี้หิด​ เถาเงาะ​  เถาสิงโต​ เงาะป่า​ ยันฮ้าง​ เยี่ยววัว​ หญ้าถลกบาต​  ผักบ่วง​  เครือขนตาช้าง​  ตำลึงฝรั่ง​ ผักขี้ริ้ว​ ห่อทอง​ ตำลึงทอง​  รกช้าง​ หญ้ารกช้าง​ รก​ ละพุบาบี​ กระโปรงทอง​ มั้งเปล้า​ เล่งจูก้วย  หล่อคุ่ยเหมาะ​ เล่งทงจู​ รักนก​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Passifloraceae  มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทั่วไป​  เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง​ เถาค่อนข้างคดงอ​  เถามีหนามเล็กๆ​ ขึ้นอยู่ห่างๆ​ โดยทั่วไป​  มีอายุประมาณ​ 2-5 ปี​  มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะและมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน​  และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว​ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ​  เป็นรูปหัวใจปลายแหลม​ โคนใบเว้าส่วนขอบเว้าเป็น​ 3​ แฉก​ แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้านและขนมีน้ำยางเหนียว​  ดอกเป็นดอกเดี๋ยว​ ออกตามซอกใบ​  กลีบด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน​ กลีบด้านในเป็นสีขาว​ มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยสีขาวโคนม่วง​  ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย​ ดอกมีก้านชู​ เกสรร่วมแยกเป็นเกสรตัวผู้ประมาณ​ 5-8  ก้าน​ ตัวเมียประมาณ​ 3-4​ ก้าน​ รังไข่เลี้ยง​  ผลเป็นรูปทรงกลม​ ผลอ่อนมีสีเขียว​ เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอมสีส้ม​ มีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ​  คล้ายกับเมล็ดแมงลักแช่น้ำ​  มีรสหวานแบบปะแล่มๆ​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด​  ประโยชน์​ เป็นสมุนไร​  เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง​ เถาเป็นยาธาตุ​ เนื้อไม้ควบคุมธาตุในร่างกาย​ ผลช่วยบำรุงปอด​ ทั้งต้นช่วยบำรุงหัวใจ​ รากแก้ความดันโลหิตสูง​ ใบแก้อาการปวดศรีษะโดยใช้พอกหรือประคบ​  ยอดอ่อน​ ผลอ่อน​  ผลสุก​ ผลแก่รวมทั้งรกหุ้มสามารถรับประทานเป็นผักสดหรือผักลวกได้​  เป็นต้น

85. ดอกหลิวไต้หวัน​ (False heater)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ หลิวไทเป​ เป็นต้น​ เป็นพืชในวงศ์​ Lythraceae มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก​ กัวเตมาลา​ ฮอนดูรัส​  เขตกระจายพันธุ์เขตร้อนทั่วไป​  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก​ ทรงพุ่มแน่นทึบ​ ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก​ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน​ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม​ รูปรีถึงรูปไข่​ รูปใบหอก​  ปลายใบแหลมโคนใบสอบ​ ขอบใบหยัก​ แผ่นใบสีเขียวอ่อนอมเลืองถึงสีเหลืองเข้ม​  ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง​ ดอกสีม่วงอมชมพู​ สีชมพู​ หรือสีขาว​ กลีบเลี้ยงสีเขียว​ โคนกลีบเลี้ยงและโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดหุ้มดอก​ ปลายแยกเป็น​ 5​ แฉก​ ผลสดรูปกลมสีเหลืองมีเมล็ด​ 1​ เมล็ด​  ผลแห้งทรงกลมเมื่อแก่จะแตกออก​ ​ รูปทรงของหลิวไต้หวันจะแผ่เตี้ยแตกกิ่งเป็นพุ่ม​ มีขนตามกิ่ง​ กิ่งย่อยจะแตกออกจากกิ่งหลักสองข้างและแผ่ออกตรงข้ามกัน​ ออกดอกตลอดปี​  หากอากาศเย็นติดผล​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​ ตอนกิ่งและปักชำ​  ประโยชน์​ เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​ ไม้ถัก​ ปลูกเป็นรั้ว​  ดอกและยอดอ่อนใช้ต้มดื่มขับเสมหะ​ เป็นต้น

86.​ ดอกหางนกยูงไทย​ (Pride of​ barbados)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ขวางยอย​ ซอพอ  ส้มผ่อ  จำพอ​ ซำพอ​ หนวดแมว​ นกยูงไทย​ พญาไม้ผุ​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Leguminosae-Caesalpinioideae  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้​  หมู่เกาะเวสต์อินดีส​  เป็นไม้พุ่ม​  สูงประมาณ​ 3-4​ เมตร​ ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม​  แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก​  เรือยอดโปร่ง​   ใบเป็นใบประกอบออกแบบขนนกสองชั้นปลายคู่​  เรียงสลับ​  ใบย่อยออกเป็นคูเรียงตรงข้ามกัน​  รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ​  ปลายใบมนหรือเว้า​  ฐานใบมนหรือเบี้ยว​ ขอบใบเรียบ​  ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง​   ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบ​  ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของต้น​  ดอกมีหลายสีตามสายพันธุ์​  เช่น​ สีแดง​ สีเหลือง​ สีชมพู​ สีแดงลายจุดขาว​ เป็นต้น​  กลีบดอก​ 5​ กลีบ​  กลีบใหญ่​ 4​ กลีบ​ กลีบเล็ก​ 1​ กลีบ​  รูปช้อน​ ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น​  โคนเชื่อมปลายแยก​  ผลเป็นฝักแบนเมล็ดรูปแบนรี​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง​  ประโยชน์​  เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นสมุนไพร​  รากของต้นดอกสีแดงปรุงเป็นยารับประทานขับประจำเดือน​  เมล็ดในฝักรับประทานได้โดยแกะเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป​  เนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย​ เป็นต้น

87.  ดอกบานไม่รู้โรย​ (Globe  Amaranth)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่ากะล่อม​ ดอกสามปีบ่เหี่ยว​ ดอกสามเดือน​  ตะล่อม​ กุยหยี​ โขยหยิกแป๊ะ​  เป็นต้น​  เป็นไม้ในวงศ์​ Amaranthaceae  สกุล​ Gomphrena  มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย​ ออสเตรเลีย​ ยุโรป​ และอเมริกา​  เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กมีอายุประมาณ​ 1​ ปี​  แตกกิ่งก้านบริเวณยอดต้น​  กิ่งก้านเป็นเหลี่ยมและมีร่อง​ ลำต้นอ่อนมีขนสีขาวปกคลุมตามข้อต้นพองอกเล็กน้อย​  ข้อต้นเป็นสีแดงแต่บางต้นข้อต้นก็เป็นสีเขียว​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นรูปรีปลายแหลม​ โคนใบสอบขอบใบเรียบ​ หลังใบและท้องใบสีขาวเนื้อนิ่มก้านใบสั้นและมีขนสีขาว​  ดอกออกเป็นกระจุกทรงกลมบริเวณปลายกิ่ง​ มีดอกย่อยอัดกันแน่น​  เป็นรูปทรงกลมขนาดเท่าผลพุทรา​  ดอกมีสีขาว​ สีแดงแก่​  สีม่วงหรือสีชมพูอ่อนมีลักษณะแข็ง​ กลีบดอกมีขนาดเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ​  ทั้งดอกปลายกลีบแหลมคล้ายขนแข็งๆ​ และมีใบประดับหรือกลีบเลี่ยงดอกเป็นสีเขียวอยู่ด้วย​ 2​ กลีบ​ ผลเป็นผลแห้งเป็นกระเปราะ​ รูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ขอบขนาน​  ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนแบนหรือรูปไข่​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​  ประโยชน์​  เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นสมุนไพรทั้งต้นและรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กษัย​  แก้อาการไอ​ ดอกและต้นช่วยแก้ตาเจ็บ​ ตามัว​ ดอกช่วยขับเสมหะ​  แก้อาการปวดศีรษะ​  เป็นไม้มงคล​  เป็นต้น

88. ดอกเอื้องหมายนา  (Crape​  Ginger)​
   

      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  ชู้ไลบ้อง​  ซูเลโบ​ ​ เอื้องช้าง​  เอื้องเพชรม้า​ เอื้องใหญ่​  บันไดสวรรค์​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Costaceae สกุล​ Costus   มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบอินเดียตะวันออก​  ภูมิภาคเอเชีย​  เป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน​  สูงประมาณ​ 1-3  เมตร​  ลักษณะลำต้นเหนือดินกลมอุ้มน้ำ​  ตามลำต้นมีรอยแผล​  ใบโดยรอบรากเป็นหัวใหญ่ยาว​  ตามบริเวณโคนต้นจะติดหัวแข็งคล้ายไม้​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย​  ใบรูปหอกหรือรอบขอบขนาน​  ปลายใบเรียวแหลม​  โคนใบมน​  ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนและมีส่วนหุ้มรอบลำต้น​  ด้านส่วนมีขนนุ่มคล้ายเส้นไหม​  กาบใบอวบสีเขียวหรือน้ำตาลแดงโอบรอบต้น​  ดอกออกเป็นช่อตรงยอด​  ดอกย่อยจะอยู่รวมกันหนาแน่น​  ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงอยู่​ 3​ กลีบ​  เป็นแผ่นแบน​  ขอบมนเป็นสีม่วงแดง​  กลีบดอกนั้นจะติดเป็นหลอดส่วนปลายจะแยกเป็นกลีบหนึ่งจะมีลักษณะคล้ายลิ้น​  เป็นแผ่นสีขาวตรงกลางสีเหลือง​  ใบประดับสีม่วงแดงรูปไข่​  แต่ละใบประดับจะมีดอกอยู่​ 1​ ดอก​  ผลเป็นรูปไข่มีเนื้อแข็ง​  สีแดงสดและกลีบเลี้ยงเหลืองติดอยู่   ภายในจะมีเมล็ดเป็นมันสีดำ​  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด​  แยกหน่อหรือเหง้าหัว​   ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นสมุนไพร​  ใบแก้ไข้​  รากขับพยาธิ​  ขับเสมหะ​  แก้ไอ​  แก้โรคผิวหนัง​  แก้หนองอักเสบ​  บวม​  เป็นยาถ่าย​  เป็นต้น

89.​ ดอกโตงวะ​ (Obscure morning​ glory)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  สะอึก​​ ฉะอึ​ก​ มะอึก​  สะอึกดะลึง​  จิงจ้อเล็ก เป็นต้น​ เป็นพืชในวงศ์​ Convolvulaceae  มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา​  เอเชียเขตร้อน​  เขตกระจายพันธุ์​  แอฟริกาและหมู่เกาะแปซิฟิก​  ในไทยพบได้ทุกภาค​  เป็นพืชล้มลุกเถาเลื้อยเหนียวระบบรากเหนียวแน่น​ ถอนยาก​  เมื่อตัดใบหรือเถาจะมียางเหนียวสีขาวไหลออกมา​  ลำต้นเถาจะมีขนค่อนข้างแข็ง​ รากแข็ง​  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับกัน​  ใบเป็นรูปหัวใจ​  ปลายแหลม​  โคนเว้าขอบใบเรียบและมักเป็นสีม่วงพื้นใบสีเขียว​   ดอกออกตามง่ามใบเป็นรูปแตร​  รูปกรวยตื้น  สีขาว  สีขาวอมเหลือง​หรือเหลืองนวล​   แถบกลางสีเข้มโคนกลีบสีแดงอมม่วง​   ผลเป็นรูปไข่ปลายเป็นติ่งแหลม​  เมล็ดรูปสามเหลี่ยมกลมมีขนนุ่ม​   ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด​   ประโยชน์​  ใช้ทั้งต้นตำพอกแก้ปวดศรีษะ​   ใบย่างบดเป็นผงต้มในน้ำมันเนยใช้ทาแผลในปาก​  เป็นต้น

90. ดอกฟล็อกซ์ (Phlox)


      เป็นพรรณไม้พุ่มเล็กกระทัดรัด  สูงประมาณ 15-30 ซม.  มีทั้งชนิดพันธุ์เตี้ยและชนิดพันธุ์สูง  เป็นพืชในวงศ์ Polemonlaceae สกุล Phlox   มีถิ่นกำเนิดในรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา  เม็กซิโก  ใบมีสีเขียวสดรูปหอกกลับแคบ  ปลายแหลม  ผิวใบมีขนนุ่มก้านสั้น   ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด  ดอกมีชั้นเดียว  รูปหลอดปลายแยก 5 กลีบ  มีทั้งชนิดของกลีบเรียบและชนิดของกลีบเป็นแฉก  มีสีหลายสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์  เช่น สีชมพู  สีขาว  สีเหลือง  สีม่วง  สีแดง  และหลายสีในดอกเดียวกัน   ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด   ประโยชน์  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ  ความหมายของดอกฟล็อกซ์  คือ  สันติภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน

91. ดอกโคกกระสุน (Burra gokharu)


      มีชื่ออื่นๆ ว่า  หนามกระสุน  หนามดิน  กาบินหนี  โคกกะสุน  ชื่อจี๋ลี่  ไป๋จี๋ลี่  เป็นต้น   เป็นพืชในวงศ์  Zygophyllaceae  สกุล  Tribulus   เป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน  เป็นพืชจำพวกหญ้า  อายุประมาณ 1 ปี  แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน  ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้น  มีขนตามลำต้น   ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกขนาดเล็ก  ออกตามลำต้นและตามข้อ  ออกเรียงสลับแบบตรงข้าม   ใบรูปขอบขนานปลายมนโคนใบเบี้ยว  ส่วนขอบเรียบ  หลังใบและท้องใบมีขนทั้งสองด้านมีหูใบเป็นรูปหอก   ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้นตามซอกใบหรือตามข้อของลำต้น   ดอกเป็นสีเหลืองสด  กลีบดอกเป็นรูปรี  รูปไข่กลับหรือรูปไข่ปลายหอก   ผลเป็นรูปทรงกลมเปลือกแข็ง  เป็นนรูป 5 เหลี่ยม  มีหนามใหญ่ 1 คู่  และมีหนามเล็กๆ ทั่วไป  ผลพอแห้งจะแตกออกได้   ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์   เป็นสมุนไพร  เช่น  เมล็ดตากแห้งใช้ทำยาลูกกลอนกินบำรุงร่างกาย   ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู  แก้ไอ  ขับเสมหะ  แก้หลอดลมอักเสบ  รักษาหนองใน  ยาบำรุงไต  แก้คันตามตัว  แก้ผดผื่นคัน  แก้ลมพิษ  เป็นต้น

92.​ ดอกใบต่างเหรียญ​ (Roundleaf​ bindweed)​


      เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงคู่​  มีอายุหลายปี  ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน​  มีรากตามข้อ​ กิ่งมีขนยาวหยาบ​  เป็นพืชในวงศ์​ Convolvulaceae มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาเหนือ​ แอฟริกาใต้​  เขตกระจายพันธุ์​  อินเดีย​ เนปาล​ จีน​ ภูฎาน​ ไทย​ มาเลเซีย​  แอฟริกา​  ใบเป็นใบเดี่ยวทรงรีหรือกลม​  โคนใบเป็นทรงกลมหรือรูปหัวใจ​ เรียงสลับกันในระนาบเดียว​  ดอกเป็นดอกเดี๋ยว​ มี​ 5​ กลีบ​ โคนกลีบเชื่อมติดกัน​ ปลายแยก​ 5​ แฉก​ ซ้อนหรือเหลื่อมกัน​ บานเป็นรูปกรวย​  มีช่อดอกสีขาวหรือม่วงอมขาว​  แบบช่อกระจุกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ​ ตามซอกใบ​  ผลกลมแป้นเป็นสันตามยาว​  มี​ 4​ เมล็ดขนาดเล็กมาก​  ขายพันธุ์ด้วยการเมล็ดหรือปักชำลำต้น​  ประโยชน์​  เป็นไม้ประดับ​  ปลูกคลุมดิน​  ทั้งต้นตากแห้งผสมสมุนไพรอื่นต้มดื่มแก้ลมผิดเดือน  เป็นต้น

93. ดอกตะแบก​ (Cananga)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ แลนไห้​ ตะแบกขาวใหญ่​ ตะแบกใหญ่​ เปลือย​ ตะแบกแดง​ อ้าย​ ป๋วย​ เปื๋อย​ เปื๋อยขาว​ เปื๋อยตุ้ย​ เปื๋อยค่าง​ เปื๋อยน้ำ  เปื๋อยลั้วะ​ เปื๋อยเปลือกหนา​ เปื่อย​ กะแบก​  ตะคู้ฮก  บองอยาม​ เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​  Lythraceae  มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย​  แพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย​  จีน​ตอนใต้​  พม่า​ ไทย​  ลาว​  และประเทศใกล้เคียง​เรื่อยจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์​  และออสเตรเลีย​  เป็นพรรณไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่​  เรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ต่ำๆ​ แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น​  เปลือกลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทาอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอมเทา​  มีรอยขรุขระ​  เป็นหลุมตื้นๆ​ เกิดจากสะเก็ดแผ่นบางๆ​ ของเปลือกที่หลุดร่วงไป​  ดูคล้ายกับเปลือกต้นฝรั่ง​  แต่จะมีจุดด่างขาวๆ​ อยู่ตามลำต้น​  ตามกิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลสากๆ​ ขึ้นอยู่หนาแน่น​  ใบเป็นใบเดี๋ยว​  ออกเรียงสลับกันบางทีเรียงเกือบตรงข้าม​  ใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก​  เห็นตามง่ามชัดเจน​  ใบมีขนาดเล็กกว่าใบอินทนิลน้ำ​  ปลายใบทู่​ โคนใบทู่หรือกลม​ แผ่นใบเป็นสีเขียว​  หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง​  ท้องใบมีขนสีน้ำตาลสากๆ​ ขึ้นหนาแน่น​ ดอกออกเป็นช่อแบบกลุ่มย่อย​  ออกเป็นช่อโตๆ​ ตามปลายกิ่ง​  ตามส่วนต่างๆ​ จะมีจนสากๆ​ ขึ้นทั่วไป​  ดอกจะมีขนาดเล็ก​  โคนกลีบดอกแคบ​  ส่วนปลายกลีบจะเป็นแผ่นกลมๆ​ สีขาวหรือสีม่วงอมชมพูอ่อนๆ​ ส่วนกลีบเลี้ยงมี​ 6​ กลีบ​ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย​  ปลายแยกออกเป็น​ 6​ แฉก​ มีขนสีสนิมขึ้นปกคลุม​  ผลจะเป็นผลแห้งเมื่อแก่แล้วจะแห้งแตกออกเป็น​ 6​ แฉก​  ผลเป็นรูปไข่​  ผลแก่เป็นสีน้ำตาล​แข็งเมื่อแก่จะแตก​  ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก​ สีน้ำตาลเข้ม​  ขยายพันธุ์ด้วยการเมล็ด​  ประโยชน์​  เป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  ให้ร่มเงา​  เป็นไม้มงคล​  เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างอาคารบ้านเรือน​หรือเฟอร์นิเจอร์  เป็นสมุนไพร​ ขอนดอกบำรุงหัวใจ​ บำรุงปอด​ บำรุงตับ​ แก้เสมหะ​  เปลือกแก้ลงแดง​ แก้บิด​ มูกเลือด​  ดอกต้มดื่มแก้ท้องเสีย​  บำรุงร่างกาย​ เป็นต้น

94. ดอกตำแยแมว​ (Indian  Copperleaf)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ ตำแยผู้  ตำแยป่า  หญ้าแมว​ หญ้ายาแมว​ หานแมว​  ลังตาไก่​ อเนกคุณ​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Euphorbiaceae มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​  เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก​  ลำต้นตั้งตรง​  แตกกิ่งก้าน​จากโคนต้น​  เนื้อภายในอ่อนและไม่แข็งแรง​  ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กออกเรียงสลับ​  เป็นรูปมนรี​ รูปไข่​ หรือกลมโต  ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย​  โคนใบสอบ​  ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อย​  แผ่นใบเป็นสีเขียว​  ด้านบนมีขนขึ้นปกคลุม​  ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ​  รอบๆ​ ลำต้น​  ส่วนยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย​  ดอกจะคล้ายกับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก​  แต่เมื่อบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังคงติดอยู่และไม่ร่วง​  มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน​ มีขนปกคลุม​  แต่ละใบประดับจะหุ้มห่อดอก​ 2-6 ดอก​  ขยายพันธ์ุด้วยการปักชำและแยกต้น​  ประโยชน์​  ใบสดใช้ปรุงเป็นอาหารได้​ เช่น​ แกงเลียง​ ทั้งต้นใช้เป็นยาถอนพิษของโรคแมวได้ดี​  เป็นสมุนไพร​  ทั้งต้น​เป็นยาช่วยขับเสมหะ​  เป็นยาถ่าย​  ยาระบาย​  ใบรักษาโรคผิวหนัง​  ข้อควรระวัง​ หากทานมากเกินขนาดจะทำให้อาเจียน​  ทางเดินอาหารเกิดการระคายเคียงได้​  เป็นต้น

95.​ ดอกผักเสี้ยนขน​ (Fringed Spiderflower)​



      เป็นวัชพืชใบกว้าง​  เป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณปีเดียว​  ลำต้นตรงแผ่กิ่งก้านออกไป​  ลำต้นเป็นเหลี่ยมส่วนที่แก่จะเป็นสีม่วงปน​  มีต่อมขนปกคลุมหรืออาจไม่มี​  ค่อนข้างเหนียว​  ต้นสูงประมาณ​ 1​ เมตร​   เป็นพืชในวงศ์​  Cleomaceae  มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา​  เขตกระจายพันธุ์​ เขตร้อนของทวีปเอเชีย​ ออสเตรเลีย​  แอฟริกา​   ใบประกอบมี​ 3​ ใบย่อย​  ใบกลางรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้ามหลามตัด​  ปลายและโคนใบแหลม​  ใบข้างรูปรีปลายแหลมโคนเบี้ยว​  ก้านใบยาว​  ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง​  ดอกมีสีม่วงอ่อนอมน้ำเงินหรือสีม่วงอมชมพู​  ก้านดอกยาว​  ผลเป็นฝักกลมเมล็ดสีดำหัวและท้ายเรียวแหลม​  ผิวขรุขระ​คล้ายขดหอย​  ประโยชน์​  ใช้เป็นอาหารสัตว์​  ใช้เป็นพืชคลุมดิน​  ทำเป็นปุ๋ยหมัก​  เป็นสมุนไพรน้ำสกัดจากใบและน้ำมันจากเมล็ดทาแก้โรคผิวหนังและปวดข้อ​  เป็นต้น

96.​ ดอกทรงบาดาล​ (Scrambled eggs)​


     มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​  สะเก้ง​  ขี้เหล็กหวาน​  พรึงบาดาล​  ตรึงบาดาล​ ขี้เหล็กบ้าน​  สะเก๋ง​ สะแก้ง​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Fabaceae  หรือ​ Leguminosae  อยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์​ Caesalpinioideae  มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย​ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย   เป็นไม้พุ่มกิ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางมีความสูงได้ถึงประมาณ​ 7​ เมตร​  ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเรือนยอด​  เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนสีเทา​  แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ​  พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง​   ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด​  ใบเป็นใบแบบขนนกชั้นเดียว​  ออกเรียงสลับกันเป็นรูปรี  ปลายใบมนโคนใบมน​  ส่วนขอบใบเรียบ​ หลังใบเรียบส่วนท้องใบมีขนประปราย​  ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด​  ดอกย่อยสีเหลือง​ มีกลีบดอก​ 5​ กลีบ​  เป็นรูปไข่​  กลีบเลี้ยงมี​ 5​ กลีบ​  สีเขียวอมเหลือง​  ผลออกเป็นฝักแบนเรียบ​  เมื่อฝักแก่แล้วจะแตกออกตามตะเข็บภายในฝักมีเมล็ดประมาณ​ 15-25​ เมล็ด​  ผิวของเมล็ดเป็นมันเงา​  ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง​  ประโยชน์​  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ​  เป็นไม้มงคล​  ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาทานเป็นผักได้​  เป็นสมุนไพร​  รากใช้ต้มเป็นยาถอนพิษไข้​  พิษผิดสำแดงหรือไข้ซ้ำ​  แก้สะอึก​  เป็นต้น

97. ดอกบานบุรี​ (Common Alamanda)​


      มีชื่ออื่นๆ​ ว่า​ บานบุรีเหลือง​  เป็นต้น​  เป็นพืชในวงศ์​ Apocynaceae  สกุล​  Alamanda​  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา​ บราซิล​ เขตกระจายพันธุ์ประเทศในเขตร้อน​  เป็นไม้กึ่งพุ่มกึ่งเลื้อย​ กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม​ หรือเป็นไม้เถาอาศัยต้นไม้อื่นเพื่อพยุงตัวขึ้นไป​  ลำต้นหรือเถามีลักษณะกลมเรียบและเป็นสีน้ำตาล​  ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น​ ​ ลำต้นไม่มีขน​  ลำต้นแข็งและเหนียว​  ถ้าปล่อยเลื้อยจะไปได้ไกล​  สามารถตัดแต่งเลี้ยงพุ่มได้   ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ​  ตามข้อบริเวณใกล้ยอด​  ดอกเป็นรูปกรวยสีเหลีองมี​ 5​ กลีบ​  กลีบดอกเวียนซ้อนทับกัน​  มีทั้งชนิดดอกลาและดอกซ้อนและมีชนิดสีม่วง​   ออกดอกตลอดปีแต่จะออกดอกดกในช่วงฤดูฝน​  ใบเป็นรูปรี​  รูปไข่กลับหรือแกมรูปขอบขนาน​  ปลายแหลม​  แผ่นใบด้านล่างมีขนยาวตามเส้นแขนงใบ​  กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก​  มีเกล็ดที่โคนด้านใน​  ดอกสีเหลืองหลอดกลีบดอกยาวช่วงโคนสั้นกว่าช่วงกว้าง​  กลีบรูปรี​  มีขนสั้นนุ่มรอบๆ​ เกสรเพศผู้​  ผลเป็นรูปทรงกลม​  มีหนามยาวประมาณ​ 1​ ซม.​  เมื่อแก่จะแตกออกได้​   ภายในผลมีเมล็ดรูปไข่จำนวนมาก​   ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง​  ปักชำและการเพาะเมล็ด​   ประโยชน์​   เป็นไม้ดอกไม้ประดับตามสวน​  ริมทาง​  ปลูกคลุมดิน​  เป็นสมุนไพร​  ใบมีสรรพคุณทำให้อาเจียน​  เป็นยาถ่าย​  ยาระบาย​  แก้อาการจุกเสียดเปลือกและยางเป็นยาถ่าย​  ขับน้ำดี​  ถ้าใช้ประมาณมากจะเป็นพิษต่อหัวใจ​  เกิดอาการท้องเสียได้   เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น